2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

123 ได้ให้การรับรองไว้ในหมวดสิทธิเสรีภาพ สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ย่อมต้องได้ความคุ้มครอง แม้ผู้กระทาจะอ้างว่าเป็นเพียงการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ของตนก็ตามกฎหมาย แต่ถ้าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพมากจนเกินควรจนไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ บุคคลอื่น ย่อมไม่อาจจะทาได้ ดังนั้นรัฐจึงจาต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่คุ้มครองให้ความเป็นอยู่ ส่วนตัวของบุคคลบนโลกออนไลน์ไม่ให้ถูกกระทบและละเมิดสิทธิ โดยอาศัยอานาจตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 26 ที่ได้วางกลไกในการแก้ไข ปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิไว้ 4.5 ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ให้ เหมาะสมกับบริบทของสังคมประเทศไทย ผลจากการรวบรวมข้อมูลบทที่ 2 ที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกบทที่ 3 และเอกสารกฎหมาย ระหว่างประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้นาข้อมูลทั้งหมดมาเสนอใน รูปแบบของตาราง (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... พร้อมทั้งหลักการและที่มาของแต่ละมาตรา ประกอบด้วยหมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 การคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ หมวดที่ 3 หน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่น แกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ หมวดที่ 4 อานาจศาลในการออกคาสั่งคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ หมวดที่ 5 บทกาหนดโทษ ดังนี้ ตารางที่ 3 ความเชื่อมโยงข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เพื่อจัดทา (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... มาตรา (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... หลักการ และที่มา 1 2 3 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ....” พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ - พันธกิจของ กระทรวงดิจิทัล เศรษฐกิจและสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3