2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
129 พฤติกรรมการกลั่นแกล้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์และคุกคามผู้อื่นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจาก การบูลลี่ยังไม่เปิดเผยตัวตน จึงไม่สามารถหาตัวคนบูลลี่ได้ อีกทั้งช่องทางออนไลน์ยังเอื้อให้การแกล้ง กันง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสนุกการแกล้งขา ๆ ทาเพื่อความต้องการมีตัวตน ต้องการอยู่เหนือคน อื่น หรือเกิดจากการมีทัศนคติแตกต่างจากผู้อื่น 1) สาเหตุของกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในสังคม เกิดจากการไม่ยอมรับซึ่ง ความแตกต่างของกันและกัน การไม่ให้เกียรติผู้อื่น ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทาให้รูปแบบของการ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ก่อเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น การคอมเม้น การแชร์ การล้อเลียน การส่งต่อรูปภาพ สามารถทาได้อย่างรวดเร็ว โดยมักเริ่มก่อตัวจากความขัดแย้ง ความเห็นต่าง หรือมี กรณีพิพาทระหว่างคน 2 คน ลุกลามจนเป็นชนวนของการกลั่นแกล้งกันบนสื่อสังคมออนไลน์ เกิดจาก ความไม่เข้าใจระหว่างพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ ผู้คนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น สามารถ ใช้ระบายความรู้สึกได้ ถ้อยคาที่ใช้โพสต์จึงออกแนวรุนแรง โพสต์เสียดสี หรือสร้างความเสียหายให้อีก ฝ่ายและแสดงอารมณ์แง่ลบออกมาได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงใจ ประกอบกับผู้กระทาอาจเคยตก เป็นผู้ถูกกระทามาก่อนจึงไปกระตุ้นให้เขาเหล่านั้นคิดแกล้งผู้อื่นอย่างเช่นที่ตนเคยได้รับมาในอดีต และอีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากความคึกคะนองด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของใครบางคน อาจจะทา ให้อีกคนสูญเสียเสรีภาพในการดารงชีวิต การกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นการสร้างความ รุนแรงในระยะยาว ยิ่งมีการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์บ่อยครั้ง ยิ่งทาให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกรังแก มีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งความวิตกกังวลซึมเศร้า และความผิดปกติอื่น ๆ บางคนถึงขั้นฆ่าตัวตาย 2) ผลกระทบของกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งมักจะมีผลต่อสภาพจิตใจจนอาจนาไปสู่ภาวะ ซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจ ซึ่งพฤติกรรมกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลกระทบรุนแรง มากกว่าการกลั่นแกล้งรูปแบบดั้งเดิม ดังตัวอย่างประสบการณ์ของคนที่เคยโดนกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ ผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งส่วนใหญ่แม้จะไม่มีบาดแผลทางกายแต่มีบาดแผลในใจ นอกจาก จะได้รับความอับอาย วิตกกังวล เครียด อาจส่งผลให้บางคนเกิดภาวะโรคซึมเศ ร้า หวาดกลัวสังคม โดยจากการสารวจของกรมสุขภาพจิตพบว่า เด็กกว่า ร้อยละ 91 เคยถูกบูลลี่ และอีกร้อยละ 43 คิดจะตอบโต้เอาคืน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเรื่องการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยง ต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน ที่พบว่าเยาวชนที่ถูกรังแกผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัว ตายถึงร้อยละ 39.50 ในจานวนนี้ร้อยละ 54.20 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับรุนแรง อย่างกรณีการ ฆ่าตัวตายของ Rehtaeh Parsons ในประเทศแคนาดา การฆ่าตัวตายของ Megan Taylor Meier ในสหรัฐอเมริกา หรือการฆ่าตัวตายของ Allem Halkic ในเครือรัฐออสเตรีย แม้สังคมไทยจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3