2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

130 โดยคนที่ถูกกลั่นแกล้งนั้นจะเกิดการสั่งสมความกลัว ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ซึ่งเป็นการ สร้างความรุนแรงในระยะยาว ยิ่งมีการกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์บ่อยครั้ง ยิ่งทาให้ผู้ที่ตกเป็น เหยื่อหรือถูกรังแกมีความเสี่ยงมากขึ้น และอาจเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจาวัน หรือการเข้าสังคม ตามมา หรือการก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ปรากฏดังเช่นในต่างประเทศ 5.2.2 กฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างประเทศและประเทศไทย เนื่องจากประเทศยังไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายที่คุ้มครองการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์เป็นการเฉพาะ จึงยังไม่มีหน่วยงานใดเป็นหน่วยที่รับผิดชอบดูแลแก้ปัญหาโดยตรง รวมถึงผู้ใช้กฎหมายต้องพยายามในการปรับใช้กฎหมายเท่าที่มีอยู่เพื่อปรับบทลงโทษให้เข้ากับ ลักษณะของการกระทาความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งการกระทาในหลายรูปแบบยังไม่ครบองค์ประกอบของ การกระทาความผิด 1) กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีตัวเลขทางสถิติระบุว่าเป็นประเทศที่มีการบูลลี่ กันสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาโดยการตราพระราชบัญญัติ The Act for the Promotion of Measures to Prevent Bullying 2013 ขึ้นมา อีกทั้งในสหรัฐอเมริกาถึงแม้จะยังไม่ มีกฎหมายกลางระดับสหพันธ์ แต่จากข้อมูลพบว่าในปัจจุบันมีจานวน 7 มลรัฐที่ได้มีการบัญญัติ กฎหมายออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยในประเทศแคนาดา และ เครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งเกิดกรณีการฆ่าตัวตายอันเป็นผลพวงจากการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ต จากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจึงนาไปสู่การกาหนดมาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้มีการบัญญัติ เป็นกฎหมายเฉพาะ โดยกาหนดนิยามหรือความหมายไว้ในกฎหมาย Intimate Images and Cyber- protection Act 2017 และ Online Safety Act 2021 รวมถึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ รับผิดชอบด้านการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์โดยตรงอย่างเช่นในประเทศแคนาดาที่มีหน่วยงาน ชื่อว่า Cyber Scan และเครือรัฐออสเตรเลีย มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัย ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Safety Commissioner) ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ที่เกิดขึ้น 2) กฎหมายประเทศไทยกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (1) การนาประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า การพูด ในลักษณะของการติชมตามปกติวิสัย การ วิพากษ์วิจารณ์หน้าตา รูปร่าง หรือการแต่งกาย โดยพูดหรือวิจารณ์ตามความเป็นจริง ตามความรู้สึก รวมไปถึงการพูดจาสองแง่สองง่าม เหน็บแนม การกระทาเหล่านี้ไม่ถึงขนาดที่จะทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้ง น่าจะเสื่อมความเชื่อถือ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หรือเป็นการประทุษร้าย ต่อเกียรติที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3