2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
131 บุคคลมีอยู่ในสังคม เป็นเพียงแค่การพูดจาหยาบคาย ก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบในความผิดฐานหมิ่น ประมาท ตามมาตรา 326 อีกทั้งหากจะปรับเป็นความผิดตามมาตรา 393 ได้นั้น ต้องเป็นการกระทา “ซึ่งหน้า” ดังนั้น การกลั่นแกล้งกันโดยห่างระยะทาง เช่น การเขียน จดหมาย หรือการโทรศัพท์ด่ากัน แม้จะเป็นโทรศัพท์ที่สามารถเห็นหน้าได้ก็ไม่ใช่การดูหมิ่นซึ่งหน้า จึงไม่อาจปรับใช้กับการกลั่นแกล้ง ทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่วนใหญ่มักเป็นการส่งข้อความกลั่นแกล้งกันโดยห่างระยะทาง เช่น การส่ง ข้อความกลั่นแกล้งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพราะ เป็นการกระทาโดยระยะทางห่างจึงยังไม่ครบองค์ประกอบในความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า (2) การนาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 มาบังคับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า เป็นกฎหมายเฉพาะที่กาหนดความผิดสาหรับการสื่อสาร ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในปัจจุบันระบบ คอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสาคัญของการดารงชีวิตของ มนุษย์ ซึ่งกฎหมายนี้มีหลักการลงโทษการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์สาหรับเนื้อหาบางประการ เช่น “ข้อมูลปลอม หรือ เท็จ” “ข้อมูลลามก” มีเพียงบางอนุมาตราเท่านั้นที่สามารถนามาปรับใช้กับกรณี การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ เช่น ข้อมูลหลอกลวง ตามมาตรา 14 (1) สามารถปรับใช้กับ การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้กลั่นแกล้งได้นาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน ปลอมทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้ถูก กลั่นแกล้งเท่านั้น หากผู้กลั่นแกล้งนาข้อมูลที่เป็นความจริงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถปรับ ใช้มาตรานี้ได้ หรือตามมาตรา 14 (4) คือ การนาเข้าข้อมูลที่มีลักษณะลามก และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ เพียงแค่การนาเข้าก็ผิดแล้ว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าต้องเผยแพร่ให้แก่ประชาชน หรือไม่ แต่ยังไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้กลั่นแกล้งได้นาภาพหรือวิดีโออันมีลักษณะลามกเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้มีลักษณะที่ทาให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ อีกทั้งในกรณีมาตรา 14 (5) ที่ได้ เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ต้องห้ามนั้น เช่น การกดแชร์ข้อมูลโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความผิด อาจยังไม่ ครอบคลุมโดยตรงกับการการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ และยังไม่ครอบคลุมถึงบทกฎหมาย ตามมาตรา 16 ในกรณีการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นการส่งภาพตัดต่อ ภาพล้อเลียน หรือ การเผยแพร่ข้อมูลทาให้อับอาย เมื่อพิจารณาองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 16 พบว่าต้องเป็น การปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม ดัดแปลง และการ กระทาดังกล่าวต้องมีลักษณะที่ทาให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย (3) การนาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้กับการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ มักจะเป็นการ แสดงออกในลักษณะที่ส่งผลเสียหายในทางจิตใจต่อผู้ถูกกลั่นแกล้ง โดยในมาตรา 420 ได้กาหนดให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3