2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
138 โครงสร้างทางกฎหมาย (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... จานวน 12 มาตรา แบ่งเป็น 5 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 1 - 4) หมวดที่ 2 การคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (มาตรา 5) หมวดที่ 3 หน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (มาตรา 6-7) หมวดที่ 4 อานาจศาลในการออกคาสั่งคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (มาตรา 8-9) หมวดที่ 5 บทกาหนดโทษ (มาตรา 10 - 12) บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... .......................................................................................................... หลักการ ให้มีกฎหมายว่า ด้วยการป้องกันการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... เหตุผล เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์มีการกระทาหลายรูปแบบอาจถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประชาชนสามารถเข้าถึงกันได้ง่าย มีความซับซ้อนมากขึ้นตาม พัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่อาจนาประมวลกฎหมายอาญา ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิช พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาบังคับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้อย่าง ครอบคลุม ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นามาบังคับได้เฉพาะบางส่วน เท่านั้น สมควรกาหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ จึงจาเป็นต้องตราร่างพระราชบัญญัตินี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3