2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
2 ศาสนา สีผิว เพศ สถานะทางสังคม รวมทั้งสภาวะทางจิตใจของบุคคล เช่น การเคยถูกการกลั่นแกล้ง มาก่อน การเผชิญกับประสบการณ์ร้าย ๆ ในวัยเด็ก หรือการอิจฉาริษยา เป็นต้น จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น ล้วนเป็นมูลเหตุให้เกิดการกลั่นแกล้งหรือการข่มเหงรังแกบุคคลได้ทั้งสิ้น และเมื่อมีการกลั่น แกล้ง หรือการข่มเหงรังแกบุคคลเกิดขึ้นแล้ว ผลจากการกระทาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่ รุนแรง ทั้งต่อผู้ถูกกลั่นแกล้งและผู้กลั่นแกล้งเอง ทาให้อาจเกิดเป็นผลกระทบทั้งในระยะสั้นหรือระยะ ยาว ตลอดจนการส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาต่อสังคมโดยรวมได้ (สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กอง กฎหมายต่างประเทศฝ่ายค้นคว้าและเปรียบเทียบกฎหมาย, 2564) ราชบัณฑิตสภา ให้คานิยาม Cyberbully ว่าคือ "การระรานทางไซเบอร์" หมายถึง การกลั่น แกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ (สานักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562) จากสถิติของบริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Comparitech ได้ทา การรวบรวมสถิติการกลั่นแกล้งบนอินเตอร์เน็ตในช่วงระหว่างปี 2561—2564 ทั้งในสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก พบว่า มีสถิติเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยได้ทาการสัมภาษณ์ทั้งหมด 20,793 ครั้ง ใน 28 ประเทศ ในกลุ่มอายุ 18-64 ปีในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และอายุ 16-64 ปี ในประเทศ อื่น ๆ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ปกครองที่มีลูกอายุ 14-18 ปี ให้ข้อมูลว่า บุตรหลานของเคยถูกบูลลี่ และ 1 ใน 5 ของการบูลลี่ เกิดขึ้นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (ไทยรัฐออนไลน์, 2564) จา กกรมสุขภาพจิต ได้รวบรวมข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 เป็นการจัดทาปีล่าสุดระบุว่าประเทศ ไทยติดอันดับการ บูลลี่เป็น 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น จากสถิติที่เกิดขึ้นหมายความว่า กา รบูลลี่ใ นไทยมีระดับความถี่ที่รุนแรงมากขึ้น และจากข้อมูลยังระบุอีกว่าเป็นการบูลลี่ด้วยการใช้ ตัวอักษรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยคาที่คนไทยส่วนมากใช้บูลลี่กันมากที่สุดมักเป็นเรื่องของ รูปลักษณ์ เพศ และความคิดหรือทัศนคติ เช่น ไม่สวย ไม่หล่อ ขี้เหร่ หน้าปลอม ผอม เตี้ย ดา ขาใหญ่ จอแบน ตุ๊ด สายเหลือง ขุดทอง กะเทย กะหรี่ แมงดา ชะนี แรด โง่ สลิ่ม ควายแดง ตลาดล่าง และปัญญาอ่อน เป็นต้น (สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563) โดยการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ถือเป็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการกลั่นแกล้ง ปัญหาการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยเสรีภาพเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคลลอื่น โดยการทาให้ผู้อื่นหวาดกลัว ตกใจ รู้สึกแย่ รู้สึกไร้ค่า และกลายเป็นตัวตลกของสังคม ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในปัจจุบันที่ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่าย สิ่งนี้จึงเปรียบเสมือนอาวุธที่ใช้ในการกลั่น แกล้ง หรือละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อ (Amnesty International Thailand, 2564) ในส่วนของสิทธิความเป็นส่วนตัว (Privacy Rights) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่มี ความสาคัญ เพราะสิทธิความเป็นส่วนตัวไม่ใช่แค่เรื่องของการที่ใช้สิทธิโดยไม่ทาให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่ในทางกลับกันบุคคลอื่นก็ต้องไม่ล่วงล้า หรือพยายามล่วงละเมิดสิทธิของอีกบุคคลหนึ่งด้วยเช่นกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3