2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

3 การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ อาจก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมา เช่น ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความอับอายและความทุกข์ใจต่อบุคคลที่ถูกละเมิด โดยการโพสต์ ข้อความด่าหรือพาดพิง การใช้ถ้อยคาหยาบคาย การดูถูก ประจารณ์ การวิจารณ์รูปร่างหน้าตาคนอื่น รวมถึงการยกประเด็นเรื่องรสนิยมทางเพศ อายุ เชื้อชาติ ขึ้นมาพูดเพื่อให้ผู้อื่นเสียหายหรือเสีย ชื่อเสียง ไม่มีที่ยืนบนสังคม รวมถึงการล่อลวงให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและนาไปเผยแพร่ บนสื่อสังคมออนไลน์ เพราะทุกคนคิดว่าการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องของสิทธิที่ใครก็สามารถ กระทาได้ ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี หรือเป็นการไม่ให้เกียรติกันและกัน ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะคุณไม่มีสิทธิจะไป วิจารณ์ให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรืออับอาย อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจาวัน เพราะคนทุกคนมี คุณค่าในตัวเอง และทุกคนควรมีพื้นที่ในการแสดงความเป็นตัวตนของพวกเขาและได้ทาในสิ่งที่พวก เขาปรารถนา โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้การรับรองแนวคิดที่ว่า สิทธิความเป็นส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิที่มีมาตั้งแต่กาเนิด ไว้ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 32 กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว การกระทาใดที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิ ของบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัวไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทามิได้ เว้นแต่มีกฎหมายที่ ตราขึ้นเพียงเท่าที่จาเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็น ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว มิให้ถูกละเมิด ตลอดทั้งเพื่อกากับและควบคุมรัฐใน เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลของปัจเจกบุคคลต่อสาธารณะ (สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.(2562), 2562) แนวคิดดังกล่าวยังสอดคล้องกับ หลักสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ได้บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อที่ 12 ที่ว่า บุคคลใดจะถูกแทรกแซงตามอาเภอใจ ในความเป็น ส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย การสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่ จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าปฏิญญา สากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้การรับรองสิทธิความเป็นส่วนตัวไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้ง ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ข้อ 17 ก็ยังได้วางหลักในการ คุ้มครองความเป็นส่วนตัว กล่าวคือ บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ และจะถูกลบหลู่เกียรติและชื่อเสียง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย มิให้ถูกแทรกแซงหรือลบหลู่ จากหลักการดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานสากล มีผลผูกพันทางกฎหมาย ส่งผลให้รัฐภาคีต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของกติกาดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยหลักการแล้วมนุษย์ทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ในการที่จะมีสิทธิและ เสรีภาพที่กระทาการใด ๆ ได้ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิเช่นว่านั้น ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3