2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

4 หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และไม่ เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการบัญญัติคุ้มครองความเป็น ส่วนตัวไว้ใน มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จากหลักการดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับลักษณะทั่วไปของการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ แล้ว จะเห็นได้ว่าลักษณะทั่วไปที่สาคัญของการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการ มีพฤติกรรมก้าวร้าวโดยเจตนา หรือเป็นการกระทาซ้า ๆ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ล้วนแต่เป็น พฤติกรรมที่ผู้กระทาได้กระทาโดยเจตนา ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือซ่อนเร้นเพื่อมุ่งหมายกระทาต่อ ผู้ถูกกระทาให้ได้รับความเดือดร้อน หรือเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง ดังนั้นเมื่อมีกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นแล้ว ผลของการกระทาดังกล่าวนอกจากจะเป็น การกระทาละเมิดต่อบุคคลอื่นแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการกระทาที่กระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพ บางประการตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในความเป็นส่วนตัว (สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กองกฎหมาย ต่างประเทศฝ่ายค้นคว้าและเปรียบเทียบกฎหมาย, 2564) ปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทาให้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทาให้คนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยสื่อสังคมออนไลน์ จะก่อให้เกิดประโยชน์ แต่ก็อาจเป็นช่องทางในการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล อื่นได้ เช่นกัน จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่า ประเทศแคนาดา รัฐ Nova Scotia มีกฎหมาย Intimate Images and Cyber-protection Act 2017 สหรัฐอเมริกา มีกฎหมาย Megan Meier Cyberbullying Prevention Act 2008 เครือรัฐออส เตรเลีย มีกฎหมาย Enhancing Online Safety Act 2015 และประเทศญี่ปุ่น มีกฎหมาย The Act for the Promotion of Measures to Prevent Bullying 2013 ที่บัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ ในขณะที่ประเทศไทยถึงแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อันเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ จะได้ให้การรับรองสิทธิความเป็นส่วนตัวไว้ แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะใน การคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ และไม่มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบหรือให้การช่วยเหลือได้โดยตรง มีเพียงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทาหน้า และกากับ ดูแล ติดตาม งานที่เกี่ยวข้องกับสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมั่นคง ปลอดภัย และได้มีประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ กลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เพื่อทาหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3