2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

6 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับค อมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เท่าที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอในการนามาปรับใช้ในการลงโทษผู้กระทาความผิด งานวิจัยฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษาปัญหาดังกล่าวโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศที่แสดงออกซึ่งเสรีภาพ และความคิด เพื่อเสนอมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ในประเทศไทย ด้วยการกาหนดร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. .... 1.5 ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษา ได้กาหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ 2 ด้าน ดังนี้ 1.5.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับเกี่ยวกับคุ้มครองสิทธิ ความเป็นส่วนตัวจากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ความหมายเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ ความแตกต่างของการกลั่นแกล้งแบบดั้งเดิม และการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ รูปแบบของการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ กฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights : 1948) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1959 (The United Nations Declaration on the Rights of the Child : 1959) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights 1966 (ICCPR)) กฎหมายต่างประเทศ อ า ทิ ป ร ะ เท ศ แ ค น า ด า ก ฎ ห ม า ย Intimate Images and Cyber-protection Act 2 0 1 7 สหรัฐอเมริกา กฎหมาย Megan Meier Cyberbullying Prevention Act 2008 เครือรัฐออสเตรเลีย กฎหมาย Online Safety Act 2021 และ ประเทศญี่ปุ่น กฎหมาย The Act for the Promotion of Measures to Prevent Bullying และกฎหมายประเทศไทย อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 ประมวลกฎหมายอาญา ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความผิดฐานละเมิด พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) (4) และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 1.5.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บ ข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก จานวน 3 กลุ่ม จานวน 10 คน ดังนี้ 1) กลุ่มนักคุ้มครองสิทธิ ประกอบด้วย ประธานสภาเด็กและเยาวชน, ศูนย์รับเรื่อง ร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 OCC), กองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี, ผู้บริหารกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3