2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และกฎหมายที่เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีรายละเอียดโดยสังเขป ดังต่อไปนี้ 2.1 ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ 2.2 ความหมายการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ 2.3 รูปแบบของการกลั่นแกล้ง 2.4 การกลั่นแกล้งแบบดั้งเดิม (Traditional Bullying) 2.5 การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (Cyber Bullying) 2.6 ความแตกต่างของการกลั่นแกล้งแบบดั้งเดิม (Traditional Bullying) และการกลั่นแกล้ง ออนไลน์ (Cyberbullying) 2.7 แนวคิดทฤษฎีกิจวัตรประจาวัน (Routine Activity Theory) 2.8 แนวคิดเกี่ยวกับเหยื่ออาชญากรรม 2.9 แนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม 2.10 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) 2.11 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) 2.12 กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายประเทศไทย 2.13 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ 2.1.1 ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ คาว่าสื่อสังคมออนไลน์ (สานักงานราชบัณฑิตยสภา, 2562) ได้บัญญัติศัพท์ไว้ว่าหมายถึง โปรแกรมกลุ่มหนึ่งที่ทางานโดยใช้พื้นฐานและเทคโนโลยี เช่น Facebook Twitter Wikipedia และ บล็อกต่าง ๆ สาหรับกลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูล แลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจทากิจกรรมที่สนใจร่วมกันด้วย งานวิจัยของ (เอมิกา เหมมินทร์, 2556) กล่าวว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เป็นเครือข่ายทางสังคมหลักที่สาคัญอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และเชื่อมโยงผู้คนจากต่างสถานที่เข้าไว้ด้วยกันผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมีช่องทางที่เป็นสื่อกลางระหว่างกันและเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet) เมื่อเป็นที่นิยม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3