2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
13 2.1.3 รูปแบบของการกลั่นแกล้ง รูปแบบของการกลั่นแกล้ง ในงานวิจัย เรื่อง มองพินิจการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนและ สถานที่ทางาน ของ (พลอยพัชชา แก้ววิเศษ และคณะ, 2564) ได้แบ่งรูปแบบการกลั่นแกล้งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. การกลั่นแกล้งทางร่างกายและทรัพย์สิน เป็นรูปแบบที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด ผู้กลั่น แกล้งจะแสดงพฤติกรรมที่ทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งเจ็บปวด ได้แก่ ใช้กาลังทางร่างกาย ผลัก ตี ชกต่อย เตะ บีบคอ คุกคาม เป็นต้น รวมถึงการขโมย หรือทาลายทรัพย์สินของผู้ถูกกลั่นแกล้ง โดยผู้กระทามักมีลักษณะทางกายภาพแข็งแรงกว่าและมีวุฒิภาวะมากกว่า 2. การกลั่นแกล้งกันทางวาจา เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้มากที่สุด ไม่ว่าจะในเพศชายหรือ เพศหญิง โดยพฤติกรรมที่แสดงออกได้แก่ เรียกชื่อเล่นที่ตรงกับลักษณะทางร่างกาย ด่าว่า สาปแช่ง โห่ร้อง ตะเบ็งเสียงใส่ ใช้คาหยาบคาย วิพากษ์วิจารณ์ ใช้คาพูดที่ทาให้อับอาย ใช้คาพูดว่าร้ายนินทา และข่มขู่ให้หวาดกลัว จะเห็นได้ว่าการกลั่นแกล้งทางวาจากระทาได้ไม่ยากทั้งต่อหน้า ในที่สาธารณะ และลับหลังผู้ถูกกลั่นแกล้ง 3. การกลั่นแกล้งกันทางความสัมพันธ์หรือทางสังคม เป็นรูปแบบที่ปกป้องตนเองได้ยาก ที่สุดเพราะเป็นการแสดงพฤติกรรมทางอ้อม โดยการเพิกเฉย เย็นชา ไล่ออกจากกลุ่ม จงใจกีดกัน และมีอคติ พฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ จ้องมองด้วยแววตาแข็งกร้าว ไม่พูดด้วย เดินหนี ดูถูก เยาะเย้ย หัวเราะเยาะ ส่งภาษากายที่หยาบคาย และแพร่ข่าวลือหรือความลับ ตัวอย่างที่พบเห็น โดยทั่วไปในสถานที่ทางาน ได้แก่ หัวหน้าหรือผู้มีอานาจที่มีทักษะทางสังคมสูงพยายามบั่นทอน ความคิดดี ๆ ของผู้ถูกกลั่นแกล้งโดยเชิญชวนคนอื่นให้ต่อต้านเขา ทาให้เขามีภาพลักษณ์ทางลบ ในสายตาผู้อื่น หรือการกลั่นแกล้งอย่างเปิดเผยโดยตาหนิอย่างรุนแรงในที่สาธารณะเพื่อลดศักดิ์ศรี ของผู้ถูกกลั่นแกล้ง และแสดงการไม่ยอมรับหรือคว่าบาตรผู้ถูกกลั่นแกล้ง 4. การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ เป็นรูปแบบใหม่ที่กระทาผ่านโลกไซเบอร์หรือโลก ออนไลน์ สามารถส่งต่อข้อมูลได้กว้างขวาง รวดเร็วและมีผู้พบเห็นมีจานวนมาก หาตัวผู้กลั่นแกล้งได้ ยาก ขณะเดียวกันก็ป้องกันตนเองได้ยากเช่นกัน แรงจูงใจในการกลั่นแกล้งมักทาเพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อแก้แค้น พฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ การปล่อยข่าวลือ ด่าทอหรือใส่ร้ายผู้อื่น การแชร์ข้อมูล หรือภาพที่ไม่เหมาะสมเพื่อทาให้อับอาย เสียหาย การใช้เทคโนโลยีตัดต่อรูปภาพ การแอบอ้างตัวตน ของผู้ถูกกลั่นแกล้งเพื่อใช้สื่อสารกับผู้อื่น นอกจากนี้ยังพบว่า มีการนาความลับที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลของผู้อื่นไปเปิดเผยและมี การลบหรือการบล็อกบุคคลที่ไม่ชอบออกจากกลุ่มบนสังคม ออนไลน์ สาหรับงานวิจัยของ (ภัทรจรัส บารุงพงษ์ & อุนิษา เลิศโตมรสกุล, 2562) ที่ได้ทาการ แบ่งรูปแบบของการกลั่นแกล้ง ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3