2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
14 1. การกลั่นแกล้งด้วยวาจา โดยในโรงเรียนมักจะเกิดเหตุการณ์บ่อยที่สุด โดยเป็นการ กระทาที่ทาให้ผู้ถูกกระทาได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ แม้กระทาดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับเด็ก และเยาวชนทั้งหญิงและชาย แต่พบว่าในหลาย ๆ กรณี จะเกิดกับผู้หญิงบ่อยกว่าอาจเนื่องมาจาก สภาวะทางอารมณ์ที่อ่อนไหวมากกว่า และการกลั่นแกล้งทางวาจา ยังรวมไปถึงการนินทาการการทา ให้เกิดข่าวลือ วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นในเรื่องรูปร่างหน้าตา สถานะทางครอบครัว เชื้อชาติ โดยผู้กระทา มีเจตนาให้ผู้ถูกกระทารู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ 2. การกลั่นแกล้งทางร่างกาย เป็นการกลั่นแกล้งในลักษณะของการใช้ความรุนแรง โดยตรงต่อร่างกาย เช่น การทาร้ายร่างกาย การต่อย ตี รวมถึงการกระทาในลักษณะที่ไม่มีผลต่อ ร่างกายโดยตรงแต่ส่งผลทางอ้อม เช่น การขโมย การทาลายข้าวของส่วนตัวของผู้อื่น หรือเอาของ ส่วนตัวของผู้อื่นไป 3. การกลั่นแกล้งทางสังคมหรืออารมณ์ เป็นการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่กีดกัน ผู้ถูกกระทาให้ออกจากกลุ่ม ทาให้ผู้ถูกกระทารู้สึกแปลกแยก รู้สึกถูกกีดกัน ส่งผลกระทบต่อจิตใจของ ผู้ถูกกระทาทาให้รู้สึก โดดเดี่ยว ขาดที่พึ่ง อาจไม่มีการใช้ความรุนแรงอย่างเช่นการกลั่นแกล้งทาง ร่างกาย แต่ส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทาเพียงแค่การเมินเฉย หรือมองข้าม ไม่สนใจ ไม่พูดคุยด้วย ไม่ให้ความช่วยเหลือ ปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม หรือกีดกันไม่ให้เข้าร่วมกลุ่มก็สามารถก่อให้เกิด ความรู้สึกเจ็บปวด เสียใจ เป็นปมด้อยแก่ผู้ถูกกระทาได้ 4. การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (Cyberbullying) คือการรังแกผู้อื่นผ่านทาง สื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้อุปกรณ์ อาทิ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ โดยผู้กระทาอาจเป็นบุคคล นิรนาม เป็นเพื่อนกัน หรืออาจเป็นคนรู้จักในอินเตอร์เน็ต โดยที่ผู้กระทาอาจรู้จักกับผู้ถูกกระทา แต่ในทางตรงข้ามผู้ถูกกระทาอาจไม่รู้เลยว่าใครเป็นผู้กระทาแก่ตน โดยการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ถ้อยคาเสียดสี การด่าทอ ต่อว่าผู้อื่น กล่าวหา โดยเป็นการ แกล้งที่เจตนาหรือมุ่งประสงค์ต่อบุคคลที่เป็นเป้าหมายในการกลั่นแกล้งโดยตรง และมักมีการกลั่น แกล้งที่ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ซ้า ๆ กัน โดยการกลั่นแกล้งสามารถเกิดขึ้น ได้ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง สรุปได้ว่า รูปแบบของการกลั่นแกล้งนั้น แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบคือ 1) การกลั่นแกล้ง ด้วยวาจา เป็นการให้ถ้อยคาที่ทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจ โดยการใช้ถ้อยคา หยาบคาย ด่าทอ ขุมขู่ หรือลดทอนคุณค่าความเป็นคน 2) การกลั่นแกล้งทางร่างกาย เป็นการกลั่น แกล้งทางกายภาพ โดยใช้กาลังประทุษร้ายต่อร่างกายผู้ถูกกลั่นแกล้งโดยตรง 3) การกลั่นแกล้งทาง สังคม เป็นกีดกันบุคคลหนึ่งออกจากกลุ่ม ไม่ร่วมงานด้วย ไม่พูดคุยด้วย ในลักษณะที่ต้องการผลให้ ผู้ถูกกระทารู้สึกไร้ตัวตน ขาดที่พึ่ง 4) การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการย้ายการกลั่นแกล้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3