2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

18 6. การระบุตัวตนบุคคลที่กลั่นแกล้งแบบดั้งเดิมจะสามารถระบุตัวตนคนกลั่นแกล้งได้ แต่การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในหลายครั้งไม่สามารถระบุคนกลั่นแกล้งได้ 7. การเห็นปฏิกิริยาของเหยื่อ การกลั่นแกล้งแบบดั้งเดิมสามารถเห็นสีหน้าและร่างกาย ของเหยื่อที่ถูกกลั่นแกล้ง และผู้พบเหตุการณ์ได้ การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ยากที่จะเกิด ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อเหยื่อที่ถูกกลั่นแกล้ง 2.1.7 แนวคิดทฤษฎีกิจวัตรประจาวัน (Routine Activity Theory) นักอาชญาวิทยาโคเฮนและเฟลสัน (Cohen And Felson) ได้ให้ความหมายของปกติวิสัย (Routine Activity) คือ กิจวัตรหรือการกระทาใดของบุคคลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือ เป็นประจาทั้งที่ รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ซึ่งการกระทาเป็นประจาจนเป็นปกติวิสัยนั้น อาจทาให้อาชญากร มองเห็นโอกาส หรือช่องโหว่ที่จะก่อเหตุอาชญากรรมได้ เช่น การออกไปทางานทุก ๆ วัน ปล่อยให้บ้านไม่มีคนเฝ้า บ้าน คนร้ายอาจเฝ้าดูทุกวันและอาศัยช่องโอกาสที่เจ้าของบ้านไม่อยู่บุกรุกเข้าไปในบ้าน การสวมใส่ เครื่องประดับที่มีราคาแพง แบบเปิดเผยเป็นประจาเป็นเหตุล่อตาล่อใจคนร้ายให้ทาการชิงทรัพย์ได้ หรือนักศึกษาที่เดินเท้าบริเวณริมถนนพร้อมกับก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นประจามีโอกาสที่จะถูก อาชญากรชิงหรือวิ่งราวโทรศัพท์ไปได้ เป็นต้น โคเฮนและเฟลสัน กล่าวว่าการเกิดอาชญากรรมนั้นเกิดจากการกระทาที่เป็นนิสัยประจา ของเหยื่อ ประกอบกับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสม 3 ประการ ในการเกิดอาชญากรรม ไ ด้แก่ 1) เหยื่อ หรือ เป้าหมายที่เหมาะสม (Suitable Target) เช่น นักศึกษาวางกระเป๋าซึ่งมีทรัพย์สินมีค่า ภายในวางไว้เพื่อจองโต๊ะในโรงอาหาร กระเป๋าของนักศึกษามีโอกาสถูกลักขโมยได้ นักศึกษาทา กิจกรรมสันทนาการซ้อมเชียร์จนดึก กลับบ้านคนเดียวในซอยเปลี่ยวเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อ อาชญากรรม 2) ความอ่อนแอของผู้ดูแล (Absence of Capable Guardian) คือ ผู้ดูแลไม่อยู่ หรือมี อยู่แต่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ดูแลหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่สามารถยับยั้งไม่ให้อาชญากรรมเกิด ส่วนใหญ่ จะเป็นคนหรืออาจเป็นอุปกรณ์ก็ได้ เช่น ตารวจลาดตระเวน พนักงานรักษาความปลอดภัย เพื่อนบ้าน คนเฝ้าประตู กล้องโทรทัศน์วงจรปิด เป็นต้น 3) บุคคลที่มีแนวโน้มหรือแรงจูงที่จะกระทาความผิด (Likely and Motivated Offenders) คือตัวอาชญากรซึ่งคิดว่าเหยื่อหรือเป้าหมายมีความเหมาะสม และผู้ดูแลอ่อนแอ และตัดสินใจที่จะกระทาความผิด ซึ่งตัวอาชญากรมีเหตุผลหลายประการ ที่จะกระทาการ เช่น ความยากจน ติดยาเสพติด เด็กหรือเยาวชนที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ แต่ทั้งนี้ นอกจากองค์ประกอบแวดล้อมที่เหมาะแก่การประกอบอาชญากรรมแล้ว สิ่งที่สาคัญอีกสิ่งหนึ่ง คือ ความต้องการและสภาพจิตใจของอาชญากรที่มีความประสงค์จะประกอบอาชญากรรมเป็นสิ่ง สาคัญที่จะทาให้เกิดพฤติกรรมอาชญากรรมขึ้น หากสภาพจิตใจ ความคิด ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะ ทาพฤติกรรมอาชญากรรมก็จะไม่เกิดขึ้น (พรชัย ขันตี และคณะ, 2558)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3