2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
19 2.1.8 แนวคิดเกี่ยวกับเหยื่ออาชญากรรม เหยื่ออาชญากรรม หมายถึง ผู้ที่เป็นผู้ประสบผลเสียหายทั้งด้านจิตใจ ชีวิต ทรัพย์สิน และ ร่างกาย อันเกิดจากการกระทาผิดกฎหมาย ไม่ว่าผู้ถูกกระทาตกเป็นเหยื่อ จะเป็นสมาชิกในครอบครัว บุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมถึงผู้ที่ต้องพึ่งพาผู้เสียหายโดยตรงและผู้ที่ต้องทุกข์ทรมานจากการเข้า ช่วยเหลือผู้เสียหายที่อยู่ในภาวะคับขันหรือเข้าป้องกันผู้อื่นไม่ให้ตกเป็นผู้เสียหาย แนวคิดเหยื่อ อาชญากรรมได้แบ่งสาเหตุของการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเป็น 3 รูปแบบดังนี้ 1) เหยื่อที่เหมาะสม ได้แก่ เหยื่อที่ลักษณะของการความอ่อนแอ ไร้เดียงสา เปราะบาง 2) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ขาด ผู้ดูแลขาดการเอาใจใส่ 3) อาชญากรที่ถูกบีบบังคับจากสภาพแวดล้อม มีแรงจูงใจจากสภาวะทาง สังคม สภาพเศรษฐกิจ และการเข้าถึงการศึกษา รวมถึงกระบวนการยุติธรรม (กชพรรณ มณีภาค & อุนิษา เลิศโตมรสกุล, 2562) 2.1.9 แนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดผลเสียแก่ตนเองและสังคม โดยการแสดงออกในลักษณะที่ฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีงามของสังคมนั้น ๆ ถือเป็นการกระทาที่มีความ เสี่ยง หรือมีแนวโน้มนาไปสู่การฝ่าฝืนต่อกฎหมายของในอนาคต เช่น การสูบบุหรี่ การเครื่องดื่มมี แอลกอฮอล์ หรือดื่มสุรา เป็นต้น ซึ่ง Biesanz and Biesanz (1969) จาแนกพฤติกรรมเบี่ยงเบน ออกเป็น 5 พฤติกรรม ดังนี้ 1) การกระทาที่เป็นเพียงการกระทาที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นความรุนแรง ได้แก่ การเที่ยวกลางคืน การโดดเรียน การหนีออกจากบ้าน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการไม่เชื่อ ฟังผู้ปกครอง 2) การกระทาที่ทาลายตนเอง ได้แก่ การใช้สารเสพติดทุกประเภท การติดการพนัน 3) การกระทาที่เป็นปรปักษ์ต่อผู้อื่น ได้แก่ ทาร้ายร่างกายผู้อื่น การทาลายทรัพย์สินผู้อื่น 4) พฤติกรรมที่ละเมิดศีลธรรมอันดีของประชาชน ได้แก่ การขโมยของจากร้านค้า 5) พฤติกรรมที่ ทาลายสังคม ได้แก่ การทาลายทรัพย์สินส่วนรวม การพกพาอาวุธในที่สาธารณะ พฤติกรรมไม่ เหมาะสมเหล่านี้ อาจทาให้เด็กและเยาวชนมีความเสี่ยงที่จะกระความทาผิดกฎหมายได้ (กนกอร จันยมิตรี & กัญญ์ฐิตา ศรีภา, 2563) ถึงแม้ว่าการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ จะเกิดจาก พฤติกรรมเบี่ยงเบนซึ่งอาจไม่ถึงกับเป็นการกระทาความผิดทางอาญาเสมอไป แต่พฤติกรรมดังกล่าว เมื่อมีการกระทาจนเกิดเป็นความเคยชิน โดยเป็นพฤติกรรมที่ผิดไปจากประเพณีหรือแนวทางปฏิบัติ ของคนในสังคมนั้น ๆ แม้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา และการทานั้นเป็น กระทานั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น หรือไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายใด ๆ ก็ย่อมเป็นเพียงพฤติกรรม เบี่ยงเบนที่ไม่ถึงขั้นเป็นอาชญากรรมหรือการกระทาความผิด แต่ในกรณีที่การกลั่นแกล้งผู้อื่นนั้นหาก ส่งผลให้ผู้ถูกรังแกได้รับอันตรายหรือต้องทนทุกข์ทรมาน ก็อาจถือได้ว่าเป็นการกระทาที่เป็น อาชญากรรมหรือการกระทาผิดได้ (ปวริศร์ กิจสุขจิต, 2559)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3