2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
20 2.1.10 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) แนวคิดของการควบคุมอาชญากรรมนั้น ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา องค์กร ผู้มีหน้าที่ใช้กฎหมาย จาต้องหามาตรการหรือวิธีการในการควบคุม หรือป้องปรามการก่อ อาชญากรรมให้เกิดผลดีที่สุด โดยไม่จาต้องยึดตัวบทของกฎหมายอย่างเคร่งครัดมากนัก อาจกล่าวได้ ว่าถ้าองค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการทางยุติธรรมไม่สามารถลดหรือควบคุมการก่ออาชญากรรมได้ หมายความว่าความสงบสุขของสังคมในส่วนรวมนั้นถูกทาลายอย่างสิ้นเชิง และยังหมายถึงอิสรภาพ ของมนุษยชาติได้สูญเสียไปด้วย เนื่องจากว่าถ้ามีผู้ไม่ปฏิบัติตาม ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังกฎหมายแล้วก็จะ ทาให้ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหลายกลายเป็นเหยื่อของอาชญากรรมโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ (ศศิประภา ไผ่งาม, 2552) การควบคุมอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ จึงจาเป็นต้องมีการดาเนินการที่ในระดับสูงซึ่ง ในระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น จะต้องมีการจัดการดาเนินการตามกฎหมาย รวมถึง กระบวนการพิจารณาพิพากษาผู้กระทาความผิดอาญาได้ทุกกรณี ซึ่งจะต้องดาเนินการอย่างเป็น ทางการน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ปราศจากอุปสรรคที่ทาให้ระยะเวลาการทางานของ เจ้าหน้าที่ล่าช้าลง อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทางานที่สูงขึ้น เช่นนี้ทาให้มีผลเป็นการ ปราบปรามอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพสูง อันจะส่งผลให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย (อัคคกร ไชยพงษ์ และคณะ, 2561) 2.1.11 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) ในบรรดาสิทธิที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งหมด “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็น “สิทธิ” ลักษณะหนึ่ง “ความเป็นส่วนตัว” หรือ“Privacy” เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่สังคมในยุคใหม่เกือบทุกประเทศให้ความสาคัญอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการรับรองหลักการ ดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือแม้บางประเทศจะไม่ได้บัญญัติรับรองไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ได้ ตราบทบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายเฉพาะ โดย “สิทธิความเป็นส่วนตัว” เป็นสิทธิที่หมายถึงการ ดาเนินชีวิตของบุคคลผู้หนึ่งในสังคมที่เขาอยู่อาศัยอย่างมีความสงบ โดยปราศจากการรบกวน หรือนาไปเปิดเผยต่อสาธารณชนที่จะทาให้เกิดความรู้สึกราคาญ เบื่อหน่าย หรือสูญเสียศักดิ์ศรีความ เป็นตัวเองในการดาเนินชีวิต ทั้งนี้ความหมายของการดาเนินชีวิตของบุคคล สามารถดาเนินชีวิตได้หลากหลาย รูปแบบโดยคานึงถึง สภาพการปกครองในสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี ความก้าวหน้าและยุคสมัยเป็นองค์ประกอบ สิทธิความเป็นส่วนตัว ถือเป็นสิทธิที่ติดตัวคนมาแต่ กาเนิดอย่างแบ่งแยกไม่ได้ จึงได้มีความพยายามที่จะทาให้สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวมีความชัดเจน เช่นเดียวกับสิทธิมนุษยชน โดยได้กาหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การ สหประชาชาติ ข้อ 12 ความว่า ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ครอบครัว การสื่อสาร ย่อมจะไม่ถูก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3