2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
22 2.2.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค .ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights 1948) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง กลุ่มประเทศผู้ชนะสงคราม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ประจักษ์ถึงความทารุณโหดร้ายของสงครามไม่ว่าจะเป็นความทารุณโหดร้าย ของพรรคนาซี การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหลายล้านคน การย่ายีเด็กและสตรีและเห็นว่าเป็นการ ทาลายศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างชัดแจ้ง สมาคมโลกจึงมีความเห็นร่วมกันว่า จาต้องมีมาตรการที่เป็น รูปธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทาลายศักดิ์ศรีของมนุษย์เกิดขึ้นอีก และได้ตระหนักว่าการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสาคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพและความเจริญก้าวหน้าขึ้นใน โลก จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2488 ได้มีการรับรอง กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter) โดยมติที่ประชุมใหญ่ ในกฎบัตรนี้มีข้อความหลายตอนที่แสดง ถึงความมุ่งมั่นของสหประชาชาติในการทาหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2489 สหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (The Commission on Human Rights) ให้อยู่ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council หรือ ECOSOC) ขึ้นเพื่อเป็นองค์กรในระดับสากลที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอ ภาคเท่าเทียมกัน สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (The Universal Declaration of Human Rights 1948) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 และมี มติประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Day) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยข้อความ 30 ข้อ มีเนื้อหาแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ข้อ 1 และข้อ 2 กล่าวถึงหลักการสาคัญของสิทธิมนุษยชน โดยมนุษย์มีสิทธิ ติดตัวมาแต่เกิด มนุษย์มีศักดิ์ศรีมีความเสมอภาคกัน ดังนั้นจึงห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกประเทศที่จะสร้าง หลักประกันให้แก่ทุกชีวิตด้วยการเคารพหลักการของสิทธิเสรีภาพที่ปรากฏในปฏิญญานี้ เพื่อให้ หลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นมาตรฐานร่วมกันในการปฏิบัติต่อกันของผู้คนในสังคม ทั้งใน ประเทศและระหว่างประเทศอันจะเป็นพื้นฐานแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความยุติธรรมในโลก ส่วนที่สอง ข้อ 3 ถึงข้อ 21 กล่าวถึงสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ส่วนที่สาม ข้อ 22 ถึงข้อ 27 กล่าวถึง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนที่สี่ ข้อ 28 ถึงข้อ 30 กล่าวถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคล สังคม โดยรัฐมีหน้าที่ที่จะต้อง สร้างหลักประกันให้มีการคุ้มครองสิทธิที่ปรากฏในปฏิญญานี้ ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงห้าม รัฐกระทาการอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน หรือจากัดสิทธิของบุคคลมิให้ใช้สิทธิมนุษยชนมิได้ (สมชาย กษิติประดิษฐ์, 2541) โดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติได้กาหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3