2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
24 เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของผู้ถูก กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ข้อ 1 มนุษย์ทุกคนมีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ โดยทุกคนควรปฏิบัติต่อกันด้วยความเท่าเทียม ข้อ 2 ทุกคนมีสิทธิและอิสรภาพ โดยต้องไม่ได้รับการ เลือกปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุใด ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล ข้อ 4 บุคคลจะถูกลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ข้อ 5 ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็น และการแสดงออก ข้อ 8 สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากศาล และ ข้อ 12 ห้ามรบกวนความเป็นอยู่ ส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน การติดต่อสื่อสาร รวมทั้งห้ามทาลายชื่อเสียงและเกียรติยศ 2.2.2 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1959 (The United Nations Declaration on the Rights of the Child 1959) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จัดทาขึ้นตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติที่ว่าด้วย ศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ที่เท่าเทียมกันโดยคานึงว่าเด็กมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลและช่วยเหลือ ทั้งในสภาพแวดล้อมของครอบครัวและการเลี้ยงดูอื่น ๆ บนพื้นฐานของประเพณีและค่านิยมทาง วัฒนธรรมของชาติพันธุ์และสังคม โดยอนุสัญญาฉบับนี้ มีทั้งหมด 54 ข้อ มีหลักการที่สาคัญคือ “การไม่เลือกปฏิบัติและประโยชน์สูงสุดของเด็ก” ซึ่งมุ่งคุ้มครองสิทธิของเด็กรวม 4 ด้าน คือ 1) สิทธิในการอยู่รอด 2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง 3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ 4) สิทธิในการมีส่วนร่วม (สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาศ ผู้สูงอายุ, 2561) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กจัดทาขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติหลังจากที่ประเทศโปแลนด์ นาเสนอร่างอนุสัญญาเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยผ่านการพิจารณาของคณะทางานขององค์การ สหประชาชาติและได้รับการรับรองจากประเทศต่าง ๆ ในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในปี พ.ศ. 2532 อันเป็นโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของปีเด็กสากล ครบรอบปีที่ 10 ของการเริ่มกระบวนการ ร่างอนุสัญญา และเป็นโอกาสครบรอบปีที่ 30 ของการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กอีกด้วย (อวิการัตน์ นิยมไทย, 2552) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2522 โดยปัจจุบันมีรัฐภาคีหรือประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ฯ รวม 196 รัฐภาคี ผลของรัฐหากเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ รัฐภาคีต้องสร้างหลักประกันให้เด็กได้รับการ คุ้มครองและดูแลเท่าที่จาเป็น โดยจาต้องมีมาตรการทางบริหาร นิติบัญญัติ และด้านอื่น ๆ เพื่อให้ เป็นไปตามอนุสัญญาฉบับนี้ ทั้งนี้สิทธิที่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ให้การรับรอง ป้องกันและ ปราบปราม มิให้มีการใช้สื่อออนไลน์เกี่ยวข้องกับการก่อให้เด็กและเยาวชนฆ่าตัวตาย (ฟ้าใส สามารถ & คณาธิป ทองรวีวงศ์, 2564)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3