2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

25 ประเทศไทยลงนามภาคยานุวัติรับรอง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 จึงเป็นผลให้รัฐบาล มีพันธะผูกพันที่จะดาเนินการให้เด็ก ๆ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามในประเทศไทย ให้ได้รับสิทธิ เท่าเทียมกันตามอนุสัญญา ฯ รวมทั้งรายงานความก้าวหน้าการดาเนินงานต่อคณะกรรมการสิทธิเด็ก แห่งสหประชาชาติด้วย การประกาศอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กนับเป็นจุดเริ่มต้นสาคัญที่ทาให้ประเทศ ต่าง ๆ ตระหนักถึงความสาคัญของเด็ก โดย PART I Article 1 กาหนดให้ “เด็ก” คือมนุษย์ทุกคนที่มี อายุต่ากว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น (อนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1959 (The United Nations Declaration on the Rights of the Child 1959), 1959) โดยใน Article 19 รัฐภาคีจะต้องมีมาตรการ ที่เหมาะสมทั้งทางด้านนิติบัญญัติ บริหาร สังคม และการศึกษา เพื่อที่จะคุ้มครองเด็กจากความรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการทา ร้ายร่างกาย การทอดทิ้ง การแสวงประโยชน์โดยมิชอบ รวมถึงการกระทาอันมิชอบทางเพศ ขณะอยู่ ในความดูแลของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย รวมถึงบุคคลอื่นใดซึ่งเด็กนั้นอยู่ในคว าม ดูแล (สานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, 2548) 2.2.3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights 1966 (ICCPR)) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 สมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติให้การรับรองไว้ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม 2519 โดยรัฐภาคีตามสนธิสัญญาฉบับนี้ ต้องให้คามั่นว่าจะเคาร พสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ของบุคคล ซึ่งรวมถึ งสิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการ ชุมนุม สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม โดยประเทศไทย เข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 โดยประเทศไทยมีคาแถลงตีความ (Declaration) /ข้อสงวน (Reservation) 2 ประเด็นคือ 1. การใช้สิทธิการกาหนดเจตจานงตนเอง ซึ่งไทยมิให้ตีความว่า อนุญาตหรือสนับสนุน การกระทาใด ๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยกดินแดน และ 2. เรื่องการห้ามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงครามนั้น ไทยถือว่าไม่รวมถึงสงครามเพื่อป้องกัน ตนเอง ในกรณีที่ไทยจาเป็นต้องประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ประชาชนรักชาติ ในกรณีที่ต้องทา สงครามเพื่อป้องกันการรุกรานจากประเทศอื่น (Human rights) ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวไว้ใน PART III Article 17 ว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3