2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

31 rest of your life. The world would be a better place without you.” (ทุก ๆ คนในเมืองโอ ฟัลลอนรู้ดีว่าแกเป็นยังไง แกมันนังสารเลว และทุกคนต่างก็เกลียดแก ขอให้ชีวิตที่เหลือของแกพบแต่ ความฉิบหาย โลกคงจะสูงขึ้นกว่านี้ถ้าไม่มีคนอย่างแก) ภายหลังการเสียชีวิตของ Megan ข้อเท็จจริง ได้ปรากฏต่อมาว่า เด็กหนุ่มอายุ 16 ปี ที่ใช้ชื่อว่า Josh แท้จริงแล้วไม่มีตัวตน แต่เป็นเพียงบุคคล สมมติที่ถูกปลอมขึ้นโดย Lori Drew ผู้เป็นแม่ของ Sarah Drew เพื่อนของ Megan โดย Lori ให้เหตุผลที่กระทาลงไปว่า เนื่องจากลูกสาวของเธอเคยเป็นเพื่อนกับ Megan แต่ต่อมามีปัญหากัน และ Megan เองก็เคยมีพฤติกรรมที่ไม่ดีกับลูกสาวของเธอก่อน เธอจึงคิดหาวิธีตอบโต้ด้วยการ กลั่นแกล้ง จากเหตุการณ์นี้ พนักงานอัยการได้พยายามหาข้อกฎหมายเพื่อดาเนินคดีอาญากับ Lori แต่ปรากฏว่าการกระทาของ Lori ไม่มีข้อบัญญัติของกฎหมายฉบับใดที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นจะ สามารถนามาปรับใช้แก่คดีได้เลย ส่งผลให้สังคมเกิดความตระหนักและเกิดการเคลื่อนไหว กลายเป็น มูลนิธิเมแกน ไมเออร์ ที่มีแคมเปญในการรณรงค์ ผลักดันกฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งกันบน สื่อสังคมออนไลน์โดยตรง ( Megan Meier Foundation , 2023) เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลกระทบที่ สะเทือนต่อจิตใจประชาชนสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐเอง ก็ยอมรับว่า ไม่มีบทกฎหมายใดที่จะนามาปรับใช้กับกรณีของ Megan ได้ จากเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญในเนื้อหาของกฎหมายอาญาสหรัฐอเมริกา โดยมีการผลักดันให้มี ก า ร เ ส น อ ร่ า ง ก ฎ ห ม า ย Megan Meier Cyberbullying Prevention Act ขึ้ น ใ น ปี 2009 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแก้ไขกฎหมายอาญาระดับสหพันธ์ ( Federal Criminal Code) โดยกาหนดให้คุ้มครองการ กลั่นแกล้งกันบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ และเพิ่มลักษณะของการ กระทาผิด เช่น การบังคับ (Coerce) เข็ญ (Intimidate) คุกคาม (Harass) หรือการกระทาที่เป็น สาเหตุในการก่อให้เกิดความหดหู่ทางอารมณ์แก่บุคคลใดด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิ กส์ เป็นเครื่องมือ (กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์, 2559) โดย Ms. Linda T. Sánchez จากแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอร่างกฎหมาย Megan Meier Cyberbullying Prevention Act โดยมีสาระสาคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นการ แก้ไข ประมวลกฎหมายอาญาของรัฐบาลกลางเพื่อกาหนดบทลงโทษทางอาญาต่อใครก็ตามที่ส่งการสื่อสาร ระหว่างรัฐหรือต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบีบบังคับ ข่มขู่ ก่อกวน หรือสร้างความทุกข์ทาง อารมณ์อย่างมากต่อบุคคลอื่น โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนความรุนแรง ซ้าแล้วซ้า อีกและพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร โดย ได้บัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์และกาหนดบทลงโทษ ดังนี้ §881 การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3