2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
41 2.4 กฎหมายประเทศไทย กฎหมายประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถนามาปรับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ อาทิเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 ประมวลกฎหมาย อาญา ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความผิดฐานละเมิด พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) (4) และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และ หน่วยงานที่เกี่ยงข้อง เช่น กองบัญชาการตารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.4.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประเทศไทยเริ่มให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวอย่างชัดแจ้ง โดยบัญญัติรับรองไว้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 มาตรา 47 ความว่า สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว รวมถึงของบุคคลในครอบครัว และชื่อเสียง ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ รูปภาพ หรือวิธีการ อื่นใด ไปยังสาธารณชนอันที่ส่งผลกระทบถึงสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลใน ครอบครัวจะกระทามิได้ เว้นแต่เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธ ารณชน เมื่อประเทศไทย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็ยังคงมีการสืบทอดหลักเกณฑ์การ รับรองและคุ้มครองแก่สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 34 ความว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคล รวมถึงสิทธิในครอบครัว ชื่อเสียง เกียรติยศ ย่อมได้รับความ คุ้มครอง ดังนั้นการกล่าว ไขข่าว หรือแพร่หลายซึ่งข้อความ รูปภาพ ไม่ว่าจะกระทาด้วยวิธีการอื่นใด เพื่อให้มีการเผยแพร่ไปยังสาธารณชน อันถือเป็นการละเมิดหรือกระทบสิทธิของบุคคลจะกระทามิได้ เว้นแต่เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากฉบับหนึ่งโดยมีสาระสาคัญ คือการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อานาจรัฐเพิ่มขึ้น ทั้งยังปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การคุ้มครองสิทธิใน ความเป็นอยู่ส่วนตัวในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้แก่การคุ้มครองสิทธิของบุคคลในครอบครัวเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว มีสาระสาคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. การใช้สิทธิเสรีภาพ ความเป็นอยู่ส่วนตัว และของบุคคลในครอบครัวรวมทั้งเกียรติยศ ชื่อเสียง ถือเป็นเป็นสิทธิเสรีภาพที่ห้ามแทรกแซงจากรัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3