2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
42 2. มีสภาพบังคับเป็นการห้ามมิให้รัฐเข้าก้าวก่าย รบกวน ในสิทธิความเป็นส่วนตัว และ ของบุคคลในครอบครัว รวมถึงเกียรติยศ ชื่อเสียง 3. ข้อจากัดสิทธิและเสรีภาพ การไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ รูปภาพไม่ว่าด้วยวิธีใด ไปยังสาธารณะอันเป็นการละเมิดหรือกระทบสิทธิของบุคคลในครอบครัวเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทา ได้เฉพาะกรณีที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น (สมคิด เลิศ ไพฑูรย์ & กล้า สมุทวณิช, 2546) ต่อมามีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แทน ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติใน มาตรา 34 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 บัญญัติเป็นมาตรา 35 โดยเพิ่มเติมการให้ความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น กล่าวคือ สิทธิของบุคคลในความเป็นอยู่ส่วนตัว ครอบครัว ตลอดจนชื่อเสียง เกียรติยศ ย่อมได้รับความ คุ้มครอง ดังนั้นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ รูปภาพ ด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน ซึ่งถือ เป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ หรือ ชื่อเสียงจะกระทามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อีกทั้งบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความ คุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย บัญญัติ โดยอาจกล่าวได้ว่า หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย เป็นหมวดที่มีความสาคัญ ที่สุดหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มีการบัญญัติไว้เป็น ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และบัญญัติไว้เรื่อยมาใน รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ในทางหลักการแล้วหมวดนี้บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดที่ว่า มนุษย์ควรได้รับ ความคุ้มครองจากรัฐเพื่อที่จะสามารถรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ได้ โดยห้ามมิให้รัฐใช้อานาจทาง นิติบัญญัติออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเกินจาเป็น การบัญญัติรัฐธรรมนูญจึงต้องมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ ประชาชนไว้เสมอ ทั้งนี้ การรับรองสิทธิและเสรีภาพ แบ่งได้สามระดับ กล่าวคือ ระดับที่ 1 สิทธิและเสรีภาพที่กระทบไม่ได้เลย ระดับที่ 2 สิทธิและเสรีภาพที่กระทบได้ตามเงื่อนไขที่กาหนด และ ระดับที่ 3 สิทธิและเสรีภาพที่กระทบได้โดยไม่มีเงื่อนไข นอกจากนั้นที่มาของหมวด 3 นี้ยังสืบเนื่องมาจากหลักการที่วางไว้ใน หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน” ทั้งนี้ ตามหลักสากล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3