2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

43 สิทธิและเสรีภาพ หมายถึง “ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาตั้งแต่กาเนิดและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียม กัน” ซึ่งสามารถอธิบายความหมายที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้ 1. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาตั้งแต่กาเนิดและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน หมายถึง ไม่จาเป็นต้องมีกฎหมายรับรองแต่ถ้าจะห้ามหรือจากัดสิทธิเสรีภาพต้องตราเป็นกฎหมาย เช่น คู่รัก ผู้ชายกับผู้ชาย คู่รักผู้หญิงกับผู้หญิง สามารถอยู่ด้วยกันได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายออกมาบังคับ 2. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาตั้งแต่กาเนิดและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันหมายถึง เลือกปฏิบัติไม่ได้ต้องทาให้ทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้เหมือนกับคนอื่น การทาให้คนใช้สิทธิเสรีภาพเท่า เทียมกัน เป็นสิ่งที่ต้องทาโดยไม่เลือกปฏิบัติ เช่น การทาทางให้คนพิการได้มีสิทธิใช้ทางเท้าได้เหมือน คนปกติ 3. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาตั้งแต่กาเนิดและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน หมายถึง การใช้สิทธิเสรีภาพต้องมีความรับผิดชอบไม่กระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของคนอื่น และความมั่นคง ปลอดภัยของรัฐ ตามหลักสากลกาหนดว่า การใช้สิทธิเสรีภาพจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อความ มั่นคงปลอดภัยของรัฐ และต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น เมื่อประชาชนมี สิทธิและเสรีภาพ รัฐมีหน้าที่โดยปริยายที่จะต้องดาเนินการ 3 อย่าง คือ 1) ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน 2) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และ 3) ดาเนินการให้ประชาชนใช้สิทธิ และเสรีภาพได้อย่างแท้จริง ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้เปลี่ยนวิธีการเขียนใหม่ให้เป็น สากลมากขึ้น โดยวางหลักการ “อะไรที่ไม่ได้ห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย สามารถทาได้และ ได้รับการคุ้มครอง” และในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้กาหนดกรอบการใช้สิทธิ เสรีภ าพตาม หลักสากล (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ไว้ 3 ข้อ ดังนี้ 1. ต้องไม่กระทบความมั่นคงปลอดภัยของชาติ 2. ต้องไม่กระทบความสงบเรียบร้อย 3 . ต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของคนอื่น (สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กองกฎหมายต่างประเทศฝ่ายค้นคว้าและเปรียบเทียบกฎหมาย, 2564) ทั้งนี้ ความในหมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการ ปรับปรุงหลักการจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ โดยเป็นการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาว ไทยให้ครอบคลุมกว้างขึ้นกว่าเดิม จากที่เคยกาหนดให้สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองจะมี เฉพาะที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติ ให้เปิดกว้างสอดคล้องกับหลักสากล เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในระบอบ ประชาธิปไตย ให้สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ทันที ไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายอนุวัติการมา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3