2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

45 กฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละบุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้อย่างเหมาะสมและไม่ไปกระทบต่อ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) ดังนั้น แม้ว่าทุกคนจะมีเสรีภาพในการแสดงออก แสดงความคิดเห็น พูด เขียน หรือพิมพ์ ย่อมต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ ถ้าการใช้เสรีภาพเหล่านั้นไป กระทบกับสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น ก็อาจถูกจากัดเสรีภาพดังกล่าวได้เช่นกัน โดยในมาตรา 25 วางหลักการว่า สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยนั้น หากมิได้มีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่น ๆ ห้ามหรือจากัดสิทธิไว้ย่อมกระทาได้ แต่ทั้งนี้การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และในมาตรา 26 ยังให้อานาจ ในการจากัดสิทธิและเสรีภาพ แต่การจากัดเช่นว่านั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ หรือหากเป็น กรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กาหนดเงื่อนไขไว้ กฎหมายที่ออกมานั้นก็ต้องไม่เป็นการจากัดสิทธิหรือ เสรีภาพเกินกว่าเหตุ รวมถึงไม่เป็นการเพิ่มภาระเกินความจาเป็นและต้องไม่กระทบต่อศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้การจากัดสิทธิและเสรีภาพต้องระบุเหตุผลและความจาเป็นเอาไว้ด้วย 2.4.2 ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท ได้บัญญัติไว้ใน (ประมวลกฎหมายอาญา, 2499) ภาค 2 ความผิดลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง มาตรา 326 ถึง 333 โดยบัญญัติให้เป็น ความผิด เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสาคัญของการคุ้มครอง รักษาชื่อเสียง เกียรติคุณของบุคคล ซึ่งถือ เป็นคุณธรรมทางกฎหมายประการหนึ่ง กล่าวคือความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเคารพนับถือ กัน และการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ในทางแพ่งยังมีการบัญญัติ ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะละเมิด มาตรา 423 โดยบัญญัติในเรื่องความรับผิดเพื่อ ละเมิดกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกียรติคุณ ชื่อเสียง ทางทามาหาได้ หรือทางเจริญของบุคคล อื่น และกาหนดให้มีสิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อเป็นการเยียวยา แก่ผู้เสียหายอีกทาง หนึ่งด้วย บทบัญญัติในกฎหมายฐานหมิ่นประมาทและบทบัญญัติความรับผิดเพื่อการละเมิดดังกล่าวนี้ เป็นเครื่องมือในการป้องกันการละเมิดเกียรติคุณและชื่อเสียงของบุคคล หากบุคคลถูกกระทาให้เสีย ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณแล้ว ก็อาจทาให้ต้องอับอายและต้องทนทุกข์ทรมานถึงขนาดไม่อาจดารงชีวิต ได้อย่างปกติสุขได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า “เกียรติคุณและชื่อเสียง” เป็นสิ่งที่สาคัญ ประการหนึ่งใน การดารงชีวิตของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะสังคมในยุคที่มีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน (คณิต ณ นคร, 2549) สาหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ถือเป็นความผิดที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อป้องกันหรือยับยั้งมิ ให้กระทา สืบเนื่องจากเป็นการกระทาที่ไม่ได้เป็นความผิดเป็นในตัวเอง แต่เป็นการกระทาที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนราคาญแก่สังคมและประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลแต่ละประเทศจาต้องมีการบัญญัติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3