2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
46 กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ให้เป็นการกระทาที่ถือว่ามีความผิดขึ้นมาเพื่อระงับหรือยับยั้งการ กระทาดังกล่าวไม่ให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่น (รสริทน์ อยู่เย็น & กิตตินันธ์ จันทร์สืบแก้ว, 2563) โดยประมวลกฎหมายอาญา นามาปรับใช้กับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 28 กล่าวคือหากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้คาว่า ใส่ความ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า การพูดหรือเขียนให้ร้าย ป้ายสี กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความ เสียหาย เช่น เขามีนิสัยไม่ดี ชอบใส่ความคนอื่น ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 , 2554) รวมถึงการทาให้ปรากฏข้อเท็จจริงโดยอาจเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ ถ้าหากพูดแล้วทา ให้ผู้อื่นเสียหายก็เป็นความผิด แม้การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟังก็อยู่ในความหมายของคา ว่าใส่ความด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใส่ความจึงไม่จากัดวิธีอาจใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ เช่น การแสดงกิริยา อาการอย่างหนึ่งอย่างใด การใช้คาพูด ภาพวาด ใช้ภาษาใบ้ หรือใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมถึงการใช้ รูปภาพ เช่น การแอบถ่ายภาพโป๊ เปลือย แล้วนาภาพเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นดูถือได้ว่าเป็นการน่าจะทาให้ เสียชื่อเสียงซึ่งเป็นการกระทาความผิดฐานหมิ่นประมาท ข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาทได้นั้น ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียงคาหยาบหรือข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ เช่น นาย ก กล่าวว่า “โจทก์เป็น ผีปอบเป็นชาติหมา” ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น จึงไม่ทาให้ถูกดูหมิ่นหรือ ถูกเกลียดชังแต่อย่างใดเป็นเพียงคาหยาบคายเท่านั้น ในส่วนของประการที่น่าจะทาให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังนั้น ผู้กระทาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ต้องพิจารณาตามความรู้ความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป ถ้าวิญญูชนทั่วไปเห็นว่า “น่าจะทาให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง” และแม้ผู้กระทา จะไม่รู้ว่าน่าจะทาให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ก็ถือว่ามีความผิดแล้ว ดังนั้น เพียงแค่ “น่าจะ” ทาให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ยังไม่มีความเสียหาย เกิดขึ้นจริง ก็ถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าการหมิ่นประมาทสามารถ เกิดขึ้นได้หลายช่องทาง เช่น การแสดงออกทางกายภาพ การกล่าวด้วยวาจา รวมถึงข้อความ รูปภาพ หรือการสื่อความหมายด้วยวิธีอื่นใด แม้จะมิได้ระบุตัวตนของผู้เสียหายโดยชัดแจ้ง แต่สามารถทาให้บุคคลที่ผู้พบเห็นทราบ หรือเข้าใจได้ว่าเป็นใคร อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกใน ลักษณะของการประทุษร้าย การนินทา เหยียดหยาม ใส่ความ อันเป็นการทาลายชื่อเสียงเกียรติยศ ของบุคคลให้เกิดความเสียหาย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ตลอดจนส่งผลในการดารงชีวิต การเข้าสังคม กระทบถึงความน่าเชื่อถือในการประกอบการงาน หรือติดต่อประสานงานต่าง ๆ 28 มาตรา 326 ผ ู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทาให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทาความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจาทั้งปรับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3