2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
49 ได้ ในกรณีที่ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ และให้ถือว่าบุคคล ดังกล่าวเป็นผู้เสียหาย 2.4.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, 2468) บัญญัติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ต้องเสียหายจากการทาละเมิด ได้รับการทดแทน หรือเยี ยวยา ความเสียหายโดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนที่จะมีการทาละเมิด หรือหากไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ก็ต้องได้รับการชดเชยด้วยวิธีการอื่นที่เพียงพอต่อความ เสียหาย (สุนันทา จันทร์แก้ว, 2561) ค่าสินไหมทดแทน คือ สิ่งที่ให้หรือการกระทาที่ทาเพื่อชดใช้หรือทดแทนความเสียหายที่ เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือบุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการผิดสัญญา รวมทั้งการคืนทรัพย์สิน ให้แก่ผู้เสียหายด้วย ( พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 , 2554) ประเภทของค่าเสียหาย แบ่งได้เป็น 2 กรณี 1. แบ่งตามความมุ่งหมาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ค่าเสียหายแบบ ค่าสินไหมทดแทน เป็นค่าเสียหายที่คานวณเป็นเงินได้ หรือคานวณเป็นเงินมิได้ ซึ่งผู้กระทาละเมิด จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการละเมิดให้ได้มากที่สุด 2) ค่าเสียหายเชิงลงโทษ มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องปรามการกระทาละเมิดที่มีพฤติการณ์รุนแรง เป็นค่าเสียหายอื่นซึ่งเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากความเสียหาย และนอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทน 2. แบ่งตามลักษณะและความเสียหาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ค่าเสียหาย ที่คานวณเป็นเงินได้ เป็นค่าเสียหายในทางวัตถุ หรือทรัพย์สิน ที่สามารถแลกเปลี่ยน หรือมีมูลค่าทาง เศรษฐกิจ หมายความรวมถึงทรัพย์สินทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง โดยหากเกิดความเสียหาย สามารถคิดเป็นตัวเงินเพื่อชดใช้หรือทดแทนให้ผู้เสียหายคืนสู่ฐานะเดิมได้ 2) ค่าเสียหายที่คานวณเป็น เงินไม่ได้ เป็นค่าเสียหายต่อสิทธินอกกองทรัพย์สิน ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และหากเกิดความ เสียหายขึ้นสิทธิเหล่านี้ไม่สามารถมีเกณฑ์กลางในการคานวนออกมาเป็นมูลค่าความเสียหายที่เป็นตัว เงินได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเปรียบเทียบหรือพิสูจน์เป็นตัวเงินเพื่อชดใช้หรือทดแทนให้ผู้ เสียหายคืนสู่ ฐานะเดิมได้เลย เช่น ความเสียหายทางจิตใจ ความเสียหายดังกล่าวนี้ไม่มีทางใดที่จะคิดค่าเสียหาย เป็นตัวเงินได้ (นิพัฒกุศล อัศวชิน, 2552) หากจะนาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้กับการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์ ในความผิดฐานละเมิด ตามมาตรา 420 31 ต้องเป็นกระทาการโดยจงใจหรือ 31 มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทาต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทาละเมิดจาต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3