2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

52 การกระทาของจาเลยทั้งสองไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 สาหรับข้อความที่ฝ่าฝืนต่อความจริง หากผู้กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ส่ง ข้อความผ่านเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือโพสต์ข้อความออนไลน์โดยใช้ถ้อยคาหยาบคาย หรือ ถ้อยคาเปรียบเทียบ ซึ่งไม่ใช่ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงตามมาตรา 423 ก็ไม่อาจเป็นความผิด ตามมาตรานี้ เช่น การที่โจทก์กล่าวเปรียบเทียบจาเลยว่าเหมือนสัตว์ แม้เป็นการกล่าวกระทบถึง จาเลย แต่ก็ไม่ใช่การนาความเท็จหรือข้อความที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับตัวจาเลยมากล่าว จึงไม่เป็นการ ละเมิดตามมาตรา 423 ตัวอย่าง คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2557 คากล่าวของจาเลยที่ 1 ตามคาฟ้องที่ว่า “พวกมันมีเหี้ย 7 ตัว” หรือ “มันเป็นสามานย์” แม้เป็นการกล่าวกระทบถึงโจทก์ทั้ง เจ็ดแต่ก็ไม่ใช่การนาความเท็จหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริง เกี่ยวกับตัวโจทก์ทั้งเจ็ดมากล่าว หากแต่ เป็นการด่าโจทก์ทั้งเจ็ด ด้วยความรู้สึกเกลียดชังว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี โดยเปรียบเทียบเหมือนสัตว์ ไม่ใช่ เป็นการนาข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงมากล่าว จาเลยที่ 1 จึงไม่ได้กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 2.4.4 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทาผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ให้เหตุผลในการ บัญญัติไว้ว่า เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสาคัญของการการดารงชีวิตของมนุษย์ มีการกระทาด้วยประการใด ๆ อันส่งผลให้ให้ระบบคอมพิวเตอร์ทางานผิดพลาด หรือไม่สามารถทา ตามคาสั่งที่กาหนดไว้ หรือทาการคลาดเคลื่อน โดยใช้วิธีการใด ๆ เพื่อให้ล่วงรู้ข้อมูล ทาลายข้อมูล หรือแก้ไขข้อมูลของบุคคลอื่น ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้การเผยแพร่เพื่อเผยแพร่ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามกอนาจาร หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ อันส่งผลให้สังคมขาดความ สงบสุข และละเมิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึงการกระทาที่ก่อให้เกิดให้เกิดความเสียหาย ต่อความมั่นคงของรัฐ ไม่ว่าจะในทางสังคม เศรษฐกิจ จึงสมควรที่จะต้องกาหนดมาตรการเพื่อป้องกัน และปราบปรามการกระทาดังกล่าว (พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทาผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550, 2550) ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทาผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การกระทาความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ประกอบกับการพัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผล ให้บทบัญญัติบางประการในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พบว่าการกระทาความผิดทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีรูปแบบการกระทาความผิดที่มี ความซับซ้อนมากขึ้น กฎหมายฉบับเดิมจึงมีบทบัญญัติบางประการที่ทาให้ไม่เหมาะสมในการป้องกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3