2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

53 และปราบปรามการกระทาความผิด อีกทั้งยังได้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีภารกิจในการกาหนดมาตรฐานและมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้ง ติดตามสถานการณ์ด้านความมั่นคง และการเฝ้าระวังการสื่อสารของประเทศ สร้างปลอดภัยของ เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงสมควรกาหนดฐานความผิดขึ้นใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดเดิม ปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับผู้รักษาการตามกฎหมาย รวมทั้งบทกาหนดโทษของความผิด ดังกล่าว การปรับปรุงกระบวนการและหลักเกณฑ์ ในการระงับการทาให้แพร่หลายหรือลบ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ แก้ไขเพิ่มเติมอานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตลอดจน กาหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งมีอานาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทาผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560, 2560) ความแตกต่างสาคัญระหว่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ฉบับปี พ.ศ. 2560 กับ 2550 คือ แก้ไขมิให้ “ความผิดหมิ่นประมาท” เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อีกต่อไป เพราะในอดีต ความผิดฐานหมิ่นประมาทถือว่าเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ซึ่งกฎหมายระบุว่าไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้นแม้ต่อมาคู่ความจะเจรจายอม ความสาเร็จ หรืออยากถอนฟ้อง ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพินิจที่จะไม่ลงโทษคู่ความได้ ส่งผลให้มีคดี ฟ้องร้องขึ้นศาลจานวนมากและเกิดปัญหาทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมีการนา “ความผิด หมิ่นประมาท” ออกจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่ไปบังคับ ใช้ด้วยประมวลกฎหมายอาญาแทน ทาให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Content Shifu, 2562) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปี 2559 และได้ประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 มีสาระสาคัญ ดังนี้ 1. มาตรา 5 - 8 กล่าวถึง การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การปล่อย ไวรัส หรือมัลแวร์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์บุคคลอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต อันเป็น การละเมิด รวมถึงการการใช้ Username หรือ Password ของผู้อื่นในการ Login เข้าสู่ระบบ โดย ไม่ได้รับการอนุญาต 2. มาตรา 9 - 10 กล่าวถึง การแก้ไข ดัดแปลงข้อมูล การเข้าไปขัดขวาง ทาลายระบบ รวมทั้งการนาไฟล์อันตรายเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จนทาให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3