2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
56 มิให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลความคิด ความเห็นทางการเมือง ศาสนา ความเชื่อในลัทธิ พฤติกรรม ทางเพศ หรือข้อมูลส่วนบุคลลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ข้อมูลสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูล พันธุกรรม หรือข้อมูลอื่นใดในทานองเดียวกัน ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วน โดยไม่ได้รับความ ยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูล โดยใน มาตรา 33 ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกาหนด เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถ ร้องขอให้ผู้ควบคุมข้อมูล ดาเนินการลบ ทาลาย รวมถึงทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่ สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดาเนินการตามคาร้อง ขอ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วน บุคคลดาเนินการได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยหน่วยงานของรัฐ จะไม่สามารถยื่นคาขอใช้ สิทธิลบ หรือทาลายข้อมูลได้ (สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, 2565) 2.5 หน่วยงานภาครัฐในการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้อง หรือมีภาระกิจที่สามารถให้ความคุ้มครอง สิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิเช่น กองบัญชาการตารวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรงศึกษาธิการ โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.5.1 กองบัญชาการตารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยในโลกปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมากและมีการนา เทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างกว้างขวาง ทั้งในรูปแบบของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบ อินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายโทรคมนาคม ซึ่งเป็นช่องทางให้มีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกระทา ความผิดในหลายลักษณะ เช่น การหลอกลวงจาหน่ายสินค้าออนไลน์ การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อ นาไปทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร การนาข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือการนาเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จซึ่งกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของ สังคม อีกทั้งคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มีความสลับซับซ้อน มีมูลค่าความ เสียหายเพิ่มมากขึ้น และจานวนคดีมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สานักงานตารวจแห่งชาติจึงได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยการจัดตั้งหน่วยงานระดับ "กองบัญชาการ" ขึ้นใหม่ คือ "กองบัญชาการตารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)" หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "กองบัญชาการตารวจไซเบอร์" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสานักงานตารวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3