2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
58 (5) คดีที่มีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ (6) คดีที่ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ (7) คดีที่สานักงานตารวจแห่งชาติมีนโยบายป้องกันและปราบปรามเป็นพิเศษ (Ch7HD, 2564) แต่หากเป็นคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน เช่น อาชญากรรมทั่วไปที่คนร้าย ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกระทาผิด กองบัญชาการตารวจไซเบอร์จะเป็นผู้ ช่วยเหลือสนับสนุนข้อมูลที่ต้องสืบค้นทางเทคโนโลยี รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ สืบค้น พิสูจน์ทราบตัวคนร้ายร่วมกับสถานีตารวจในท้องที่เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ได้รับการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ (ข่าวเวิร์คพอยท์ 23, 2564) 2.5.2 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกระทรวงในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ภายใต้ชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ส่งผลให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องสิ้นสุดลง และจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นแทน กระทรวงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 16 กันยายน 2559 มีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล มีพันธกิจในการ กากับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลนโยบาย แผนระดับชาติ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้านสถิติ ด้านอุตุนิยมวิทยา และสร้าง ความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมั่นคงปลอดภัย โดยกฎหมายที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้รักษาการ จานวน 10 พระราชบัญญัติ ประกอบด้วย 1. พระราชกาหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 2. พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 3. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 4. พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 5. พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2496 6. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 8. พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 9. พระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3