2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

60 อีกทั้งยังกาหนดแนวทางการรับมือกับปัญหาเมื่อเผชิญเหตุการณ์บูลลี่ทางไซเบอร์ในระดับ สถานศึกษา โดยจัดทาเป็นแผนขั้นตอนการดาเนินงานออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) เผชิญเหตุการณ์ กลั่นแกล้ง 2) แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 3) รายงาน 4) ให้ความช่วยเหลือ/เยียวยา 5) ประสานความ ร่วมมือ และ 6) ส่งต่อ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ , 2566) ถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะได้มีนโยบายความปลอดภัยของสถานศึกษา ตามมาตรการ 3 ป ประกอบการมีขึ้นตอนการดาเนินงานตามแผนเชิญเหตุ แต่มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายและ มาตราการที่นามาใช้ในระดับสถานศึกษาเท่านั้น แต่ไม่มีผลบังคับใช้กับสังคมเป็นการทั่วไป 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยเรื่อง การศึกษาในประเด็นความแตกต่างระหว่างเพศของนิสิตระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับ การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ในกลุ่มนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ของ (ศศิประภา เกษสุพรรณ์ และคณ ะ , 2561) พบ ว่า การกลั่นแกล้งท างอิน เทอร์ เน็ต มี 2 รูปแบบคือ 1) การกลั่นแกล้งทางวาจา เช่น การส่งข้อความรบกวนหรือหมิ่นประมาท หรือ การด่าว่า และ 2) การกลั่นแกล้งทางสังคม เช่น การแบล็กเมล์ การแอบอ้างตัวตน หรือ การลบหรือบล็อกผู้อื่นออก จากกลุ่ม ในส่วนของ (คณุตม์เชษฐ์ นพภาลัย, 2561) ได้ทาการศึกษารูปการกลั่นแกล้งโดยใช้สื่อสังคม ออนไลน์กล่าวคือ การทะเลาะกันผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต โดยวิธีการส่ง ข้อความ ไปยังห้องสนทนา โดยใช้ภาษาที่หยาบคาย รุนแรง การเผยแพร่ข้อมูลเท็จทาให้ผู้อื่นได้รับ ความเสียหาย อับอาย การลบ บล็อก การแอบอ้างชื่อ หรือตัวตนของผู้อื่น หรือกีดกันผู้อื่นออกจาก กลุ่ม การนาข้อมูลส่วนตัว หรือความลับของผู้อื่นไปเผยแพร่ การสร้างบัญชีใช้งานปลอมเพื่อรังแกผู้อื่น เป็นการกระทาซ้า ๆ หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ทุกอย่างเมื่อถูกแชร์ผ่าน สื่อสังคมออนไลน์จะสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลเสียอย่างมาก จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยนั้นยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อ สังคมออนไลน์เป็นการเฉพาะ มีเพียงนาประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งยังไม่สามารถเอาความผิดกับผู้กระทาผิดได้ โดยตรง โดยข้อกฎหมายดังกล่าวยังมีข้อจากัดในการดาเนินคดีตามความผิด เนื่องจากสื่อสังคม ออนไลน์มีรูปแบบที่ซับซ้อนและมีการพัฒนาอย่างสม่าเสมอ ทาให้บทบัญญัติกฎหมายไทยยังไม่ สามารถปรับให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้ ดังนั้น ในขณะที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์นี้ การลงโทษผู้กระทาความผิดนั้นจะต้องพิจารณาถึง องค์ประกอบความผิดทั้งตามประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 โดยลงโทษผู้กระทาความผิดตามกฎหมาย ทั้ง 2 ฉบับรวมกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3