2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
61 ได้มีการศึกษาการรังแกทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปี 2561 โดย (พินวา แสนใหม่ , 2563) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อทราบสาเหตุ รูปแบบ ผลกระทบ และทราบแนวทางป้องกันรังแก ทางไซเบอร์ในสื่อออนไลน์ โดยมีขอบเขตการศึกษาเป็นกรณีศึกษาการรังแกทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ เกิดขึ้นในปี 2561 กรณีบุคคลทั่วไป 1 กรณี คือ “เจ้าบ่าวหนีงานแต่ง” และกรณีศึกษาในบุคคลมี ชื่อเสียง 3 กรณี คือ กรณี “อ๊บไสไม้” “ แฟน เจมส์ จิ” และ “แมท - สงกรานต์ # ไม่ย้อนแล้วจ้า” ผลการศึกษาพบว่าการรังแกทางไซเบอร์มีสาเหตุมาจาก 1) เกิดจากโครงสร้างของสังคมที่ยังไม่ วิวัฒนาการมากพอจะเข้าใจการรังแกทางไซเบอร์ 2) เกิดจากความไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ 3) เกิดจากการไม่มีกฎหมายหรือบทลงโทษที่ชัดเจน 4) เกิดจากการเอื้อประโยชน์แก่กันระหว่าง สื่อมวลชนกับเหยื่อ 5) เกิดจากความรู้สึกสนิทสนม 6) เกิดจากความรู้สึกว่ามีศีลธรรมที่เหนือกว่า 7) เกิดจากการที่สื่อมวลชนนาเสนอข่าวโดยไม่ยึดประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นหลัก 8) เกิดจากการ ปรับแต่งเชิงสังคม (Social Custom) มีรูปแบบคือมีผู้รังแก 2 ฝ่าย คือสื่อมวลชนที่นาเสนอเนื้อหา อันเป็นการรังแกทางไซเบอร์ และบุคคลทั่วไปสร้างเนื้อหาขึ้นแล้วเผยแพร่ในแพลตฟอร์ม โดยปัญหา การรังแกทางไซเบอร์สามารถแก้ไขได้ด้วย 3 ระดับ คือระดับรัฐบาลคือการบังคับใช้กฎหมาย ระดับ วิชาชีพสื่อมวลชน และระดับสังคม โดยในการศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมอนไลน์นั้น (ฟ้าใส สามารถ & คณาธิป ทองรวีวงศ์, 2564) ให้ความเห็นว่า ในสหรัฐอเมริกา ในระดับมลรัฐ จานวนทั้งสิ้น 7 มลรัฐ ได้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ระดับ มลรัฐ และกฎหมายระดับรัฐบาลกลาง ได้แก่ Protecting Canadians from Online Crime Act ของประเทศแคนาดาก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมอนไลน์ไว้เช่นเดียวกัน และ ในประเทศแคนาดา รัฐโนวาสโกเชีย ถือเป็นมลรัฐแรกในที่มีการบัญญัติกฎหมายกฎหมาย Cyber- safety Act 2013 ขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ไม่ให้ถูกกระทบสิทธิ โดยในประเทศไทยนั้นพบว่าไม่มีกฎหมายเฉพาะแต่มีบทบัญญัติของที่เกี่ยวข้องที่สุด จานวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 2) ประมวลกฎหมายอาญา และ 3) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 แต่ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์โดยเฉพาะ เพราะเป็นกฎหมายบัญญัติมาเพื่อปราบปรามผู้กระทาผิด แต่อาจนามาปรับใช้ได้ในฐานความผิดซึ่ง เกี่ยวข้องการกลั่นแกล้งเด็กออนไลน์ อาทิเช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท การหมิ่นประมาทด้วยการ โฆษณา จึงเห็นควรให้มีบัญญัติของกฎหมายในที่มีลักษณะเฉพาะในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน จากการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ เช่นเดียวกับประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา โดยกาหนดฐาน ความผิด รวมทั้งอายุของผู้กระทาผิดและอายุของผู้ถูกกระทาที่ควรจะได้รับความคุ้มครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3