2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

62 ตามกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความหวาดกลัวจากกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อลงโทษแก่ผู้ที่คิดจะ กระทาความผิด ปัญหาเด็กและเยาวชนของประเทศไทยถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์ (เมธินี สุวรรณกิจ, 2560) วิเคราะห์ว่าถือเป็นปัญหาสาคัญระดับชาติ เพราะกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ออนไลน์ ถือได้ว่าเป็น การกระทาในรูปแบบใหม่โดยใช้การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในกลั่นแกล้งรังแก เหยื่อ โดยในขณะที่กฎหมายของประเทศไทยยังมีข้อจากัดหรือปัญหาในการปรับใช้ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิด ฐานละเมิด โดยเมื่อศึกษากฎหมายของต่างประเทศ พบว่า กฎหมายในระดับรัฐ ( State Laws) ของ สหรัฐอเมริกา มีกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติมาเพื่อแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) มาตรการการลงโทษทางอาญา 2) มาตรการเชิงนโยบาย ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายการศึกษา ของรัฐ จากการวิจัยพบว่าทั้งสองรูปแบบมีข้อเสียและข้อดีแตกต่างกัน จึงเสนอให้ประเทศไทย นาทั้ง สองรูปแบบมาประยุกติ์ใช้โดยควรบัญญัติเรื่องการกลั่นแกลงทางสื่อสังคมออนไลน์ไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (วรณัน ดาราพงษ์, 2564) ได้ให้ความเห็นไว้ว่าประเทศไทยยังต้องมีการพิจารณา ตีความและ ปรับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะปัญหาเกิดขึ้นจากการไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนเพียงพอ จึงควรมี การบัญญัติกฎหมายเฉพาะในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์แยกออกเป็นหนึ่งฉบับ โดยกาหนด บทนิยามศัพท์ ฐานความผิด เกณฑ์อายุเด็กและเยาวชนที่พึงได้รับความคุ้มครอง อานาจหน้าที่ของ หน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างแน่นอนชัดเจน และในส่วนของบทลงโทษ เห็นควรระวางโทษปรับไม่ เกินห้าหมื่นบาท ถ้าเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง แสนห้าหมื่นบาท หรือทั้ง จาทั้งปรับ เพื่อเป็นการสร้างความหลาบจาให้แก่ผู้กระทาความผิดในทราบ ถึงผลกระทบหากทาการกลั่นแกล้ง โดยคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งเกณฑ์โทษปรับอัตราโทษอย่าง สูงจานวนไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น สอดคล้องไปกับแนวทางของการกาหนดโทษปรับเพียงอย่างเดียว และกาหนดโทษปรับอย่างสูงกว่า โทษในความผิดลหุโทษ ประมวลกฎหมายอาญา เพื่อให้ศาล สามารถพิจารณาปรับลงโทษได้ตามความเหมาะสม กฎหมายไทยที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่เพียงพอในการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งทาง อินเทอร์เน็ต (ดวงเด่น นาคสีหราช, 2562) จึงเสนอแนวทางแก้ไขโดยควรมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติม กฎหมาย หรือตราเป็นพระราชบัญญัติฉบับใหม่เพื่อให้สามารถเยียวยาผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจิตใจหรือทางร่างกาย อีกทั้งควรมีมาตรการในการควบคุมการกระทา ของผู้กระทาความผิดเช่นว่านั้น ให้งดเว้น ระงับ ยับยั้งการกระทา และหากมีการกระทาความผิดซ้า ผู้กระทาจะต้องรับโทษหนักขึ้น รวมถึงให้หน่วยงานที่มีอยู่ เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทา ความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ซึ่งมีความรู้และความชานาญให้มีบทบาท

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3