2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

63 หลักในการป้องกันและควบคุมการกระทาความผิดทางคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงให้มี อานาจในการใช้บังคับกฎหมายขยายไปถึงการกลั่นแกล้งรังแกทางคอมพิวเตอร์ด้วย สังคมไทยควรให้ความสาคัญกับปัญหาในเรื่องนี้ และร่วมมือกันในการปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ให้แก่เด็กและเยาวชนให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องรวมทั้งผู้ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกคน ก็ควรที่จะใช้สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ในทางที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในการทาร้ายผู้อื่น เพื่อให้ สังคมของเราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขต่อไป สารวุฒิสภา ให้ความเห็นไว้ว่า ปัจจุบันประเทศ ไทยก็ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะควบคุมดูแลในเรื่องดังกล่าว และทาได้เพียงการนากฎหมายเท่าที่มีอยู่มา ปรับใช้ในการลงโทษ ดังนั้น จึงมีความเห็นในทางวิชาการว่าปัจจุบันสมควรมีการเสนอกฎหมายเพื่อ แก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยอาจจะเสนอเป็นร่างกฎหมายใหม่ หรือร่างกฎหมายแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้ว (สานักกฎหมาย, 2563) เนื่องจากปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์คือ การไม่มีบทกฎหมาย เป็นการเฉพาะ (ณชรต อิ่มณะรัญ & รัชชา สถาพรพงษ์, 2553) ให้ความเห็นว่า กฎหมายที่มีอยู่ใน ปัจจุบันที่บังคับใช้ได้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และความผิดฐาน ดูหมิ่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในความผิดฐานละเมิด และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ แต่พบว่ากฎหมายไทยที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่เพียงพอในการควบคุมและป้องกัน มิให้เกิดการกลั่นแกล้งบน สื่อสังคมออนไลน์ กฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมการทาผิดในหลาย ๆ กรณี จึงควรบัญญัติกฎหมาย แก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อให้มีกฎหมายที่สามารถเยียวยาผู้ถูกกลั่นแกล้งทางจิตใจ หรือร่างกาย ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งหากมีการกระทาความผิดซ้าจะต้องรับโทษหนักขึ้น รวมถึงสามารถให้งดเว้น การกระทา และส่งเสริมให้หน่วยงานที่มีอยู่มีอานาจในการใช้บังคับกฎหมายอย่างจริงจังและมี ประสิทธิภาพ (นาจรีย์ ชยะบุตร & ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์, 2560) ให้ความเห็นจากการศึกษากฎหมาย กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องไว้ว่า กฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ รัฐโนวาสโกเชีย ประเทศ แคนาดา มีกลไกที่สามารถปรับใช้เพื่อคุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกข่มเหงรังแก อาทิ การขอให้ศาลออก คาสั่งคุ้มครอง และจัดตั้งหน่วยงานสืบสวนสอบสวนการข่มเหงรังแกออนไลน์โดยเฉพาะ เรียกว่า “Cyber-Scan” ให้มีอานาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนข้อร้องเรียนเป็นการเฉพาะ ส่วนในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกทางสื่อสังคมออนไลน์ จึงต้องพิจารณากฎหมาย หลายฉบับที่บังคับใช้ในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่อาจครอบคลุมไปถึงทุกกรณี จึงได้เสนอแนะแนวทางแก้ไข ปัญหา 2 ประการ ดังนี้ 1) การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ โดยให้เพิ่มเติมบทนิยามในส่วนของการส่งข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์อันเป็น องค์ประกอบหลักของความผิดที่มีลักษณะเป็นการข่มเหงรังแกอ อนไลน์ 2) การตราเป็น พระราชบัญญัติเฉพาะฉบับใหม่ ให้มีตัวบทที่เป็นสาระสาคัญ คือให้มีการกาหนดคานิยามที่ครอบคลุม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3