2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
64 ในส่วนของการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการกระทาความผิดที่มีลักษณะเป็นการข่มเหงรังแก ออนไลน์ รวมทั้งกาหนดให้ คาสั่งหรือคาพิพากษาของศาล ต้องมีส่วนสาคัญ 2 ประการคือ 1) การ แก้ไขปัญหา เช่น มีคาสั่งให้ลบหรือเพิกถอนข้อความหรือข้อมูลอันเป็นความผิดในระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการยุติความเสียหายนั้น มีอานาจออกคาสั่งห้ามจาเลยยุ่งเกี่ยวใด ๆ กับ ผู้เสียหาย 2) การเยียวยาความเสียหาย ให้ศาลกาหนดค่าเสียหายตามความร้ายแรงของพฤติการณ์ ของจาเลย โดยกาหนดเป็นโทษปรับที่จาเลยต้องชาระต่อศาล และกาหนดเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ ต้องชาระให้แก่โจทก์หรือผู้เสียหายตามความเหมาะสม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น ในงานวิจัยเรื่อง การถูกรังแก ผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน ของ (ปริญญา ชะอินวงษ์ และคณะ, 2564) ได้ทาการสารวจกลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปีทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มา รับบริการคลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 7 สังกัดกระทรวง สาธารณสุข จานวน 322 ราย ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนถูกรังแกผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมอยู่ ในระดับน้อยที่สุด และการถูกรังแกรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการถูกลบหรือบล็อกจาก กลุ่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รองลงมาคือด้านการถูกนินทา ด่าทอ รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบด้วยถ้อยคา ที่หยาบคายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการถูกบุคคลอื่นนาความลับที่เป็นข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผย ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามลาดับ และกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 36.30 ในจานวนนี้ ร้อยละ 52.10 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับรุนแรง พบว่าเยาวชนที่ถูก รังแกผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 39.50 ในจานวนนี้ร้อยละ 54.20 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับรุนแรง จากการศึกษางานวิจัยจานวน 11 เรื่อง พบว่างานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นในการคุ้มครองเด็กและ เยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ แต่มิได้มีการศึกษาถึงการคุ้มครองประเด็นการ คุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลจากการถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีของ บุคคลโดยทั่วไปอย่างแท้จริง ในส่วนของมาตรทางกฎหมายนั้น ล้วนให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่า ยังไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย โดยผู้วิจัยส่วน ใหญ่ได้เสนอให้มีการแก้บทกฎหมายบางมาตรา เพิ่มเติมกฎหมาย หรือกาหนดนิยามศัพท์เพิ่มเติม เท่านั้น แต่ยังมิได้มีข้อเสนอในการจัดทาร่างกฎหมายเพื่อออกมาบังคับใช้แก้ปัญหาการกลั่นแกล้งทาง สื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นวรรณกรรมที่ได้ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัยจะนาไปใช้เป็นข้อมูล เอกสารเพื่อวิเคราะห์ตามประเด็นที่กาหนดไว้ต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3