2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
67 3.2.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ผู้ให้ข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม จานวน 10 คน ดังนี้ 1) กลุ่มนักคุ้มครองสิทธิ ประกอบด้วย ประธานสภาเด็กและเยาวชน, ศูนย์รับเรื่อง ร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 OCC), กองบังคับการปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี, ผู้บริหารกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วม พัฒนาไทยประชาชน จานวน 5 คน 2) กลุ่มประชาชน ประกอบด้วย นักศึกษา, ข้าราชการ , พนักงานเอกชน และ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ขายของออนไลน์) จานวน 4 คน 3) จิตแพทย์ จานวน 1 คน 3.2.3 ประเด็นสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้กาหนดแบบคาถามสัมภาษณ์ใช้คาถามเป็น 2 ชุด ในการสัมภาษณ์ โดยแบ่ง ประเด็นคาถามออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ชุดที่ 1 สาหรับกลุ่มนักคุ้มครองสิทธิ และกลุ่มประชาชน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา การ โดยใช้แบบ ตรวจสอบรายการ (Check List) ส่วนที่ 2 ประเด็นสัมภาษณ์ 1) ท่านคิดว่า การกระทาในลักษณะใด/รูปแบบใด ที่ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ (cyberbullying) 2) ท่านคิดว่าสาเหตุ /มูลเหตุจูงใจที่ก่อให้เกิดกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ มีอะไรบ้าง 3) ท่านคิดว่า การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลกระทบต่อผู้ถูกกลั่นแกล้งหรือไม่ เพียงใด 4) ท่านคิดว่ามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ของประเทศไทยในปัจจุบัน มีความเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด 5) ท่านคิดว่าสิทธิส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นตามกฎหมาย กับ การบูลลี่ มีความ เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่น และข้อเสนอแนะ ชุดที่ 2 สาหรับจิตแพทย์ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3