2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
บทที่ 4 ผลการวิจัย การเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัย สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย แม้ว่าระยะทางห่างกันมากเพียงใดสามารถ ติดต่อถึงกันได้ ด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลกที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร สืบค้นข้อมูลข่าวสาร สามารถโต้ตอบกันได้ เปรียบเสมือนการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ของโลก นับว่าเป็นที่ประโยชน์สาคัญอย่างยิ่ง การสื่อสารในยุคที่มีระบบออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทจนถือเป็น ปัจจัยสี่ในการดารงชีวิตประจาวันในยุคดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์สามารถนาไปใช้ให้ก่อประโยชน์ใน ด้านการสื่อสาร สร้างรายได้ เศรษฐกิจ สังคม ส่งผลให้สังคมเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ แต่มีบุคคล บางกลุ่มที่แสวงหาประโยชน์จากการสื่อสารทางออนไลน์เพื่อกลั่นแกล้งบุคคลอื่น โดยใช้เป็นช่องทาง ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น ด้วยวิธีการโพสต์ข้อความด้วยถ้อยคาหยาบคาย การดูถูก ประจารณ์ วิพากษ์วิจารณ์รูปร่างหน้าตาของบุคคลอื่น ทาให้ผู้อื่นนั้นเกิดความรู้สึกแย่ ไร้ค่า และ กลายเป็นตัวตลกของสังคม และทาให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้ความจริงหลงเชื่อตามสิ่งที่โพสต์ข้อความ เหล่านั้นว่าเป็นเรื่องจริง เหล่านี้ เป็นการกระทาที่ละเมิดต่อสิทธิความเป็นส่วนตั วของบุคคลที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 32 รับรองสิทธิว่าบุคคลย่อมมีสิทธิใน ความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทาอันเป็นการละเมิด หรือกระทบต่อ สิทธิของบุคคล หรือการนาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทามิได้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 กาหนดสิทธิความเป็นส่วนตัว ข้อ 12 บุคคลใด จะถูกแทรกแซงตามอาเภอใจในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย การสื่อสาร หรือจะถูก ลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกแซง สิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น ส่วนในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิ พลเมือง ค.ศ.1966 คุ้มครองความเป็นส่วนตัว ข้อ 17 บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ และจะถูกลบหลู่ เกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายมิให้ ถูกแทรกแซงหรือลบหลู่เช่นว่านั้น แม้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่าง ประเทศ กาหนดรับรองคุ้มครองสิทธิบุคคลมิให้ถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวไว้ก็ตาม แต่ยังไม่มี กฎหมายเฉพาะเพื่อเป็นมาตรการควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากการสื่อสารทางสังคมออนไลน์เพื่อกลั่นแกล้งบุคคลอื่นนั้น อันเป็นที่มาของ ปัญหาในการวิจัยนี้ที่จะหาคาตอบถึงมาตรการทางกฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ผู้วิจัยได้แยกวิเคราะห์เป็น 5 ส่วน คือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3