2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

71 1. วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย 2. กฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ของต่างประเทศและประเทศไทย 3. หน่วยงานภาครัฐในการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ 4. การแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพตามกฎหมายกับสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น 5. ข้อเสนอมาตรการทางกฎหมายควบคุมการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ให้เหมาะสมกับ บริบทของสังคมประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ดาเนินการศึกษาเก็บและรวบรวมข้อมูลในบทที่ 2 และระเบียบวิธีการวิจัยกาหนดไว้ ในบทที่ 3 นาข้อมูลที่ได้มาสู่การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปนี้ 4.1 วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ในยุคที่อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสาคัญในการดาเนินชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารจากในอดีตที่เป็นการ พูดคุย การแสดงออกด้วยท่าทาง และตัวหนังสือ ซี่งถือเป็นการสื่อสารในรูปแบบการเผชิญหน้า เป็นการสื่อสารในรูปแบบที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องเผชิญหน้าซึ่งกันและกันในการสนทนา ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาการสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทาให้สามารถสื่อสารได้ในรูปแบบการ สื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า คือการสื่อสารที่ไม่สามารถเห็นหน้ากันได้ เพราะทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารต่าง อยู่กันคนละที่หรือเรียกว่าการสื่อสารระยะไกล เกิดความสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร ระหว่างบุคคลด้วยกัน การสื่อสารระหว่างองค์กร การสื่อสารของสื่อสาธารณะ ส่งผลให้ในปัจจุบัน เทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการ ตอบสนองและเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรมการดาเนินชีวิตของคนในสังคมให้มีความสะดวกสบาย และรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ มากขึ้นเห็นได้จากผลการวิจัยที่ระบุว่าการใช้ งานอินเตอร์เน็ตของประชากรโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เห็นได้จากสถิติต่าง ๆ ดังนี้ ภาพที่ 1 สถิติการใช้งานอินเตอร์เน็ตของประชากรโลก (ที่มา : We Are Social, 2023)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3