2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
74 จากผลสารวจที่ ดีแทค ร่วมมือกับ Wisesight ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสื่อสังคม ออนไลน์ ศึกษาผ่าน Social listening tool โดยได้รวบรวมข้อความต่าง ๆ ทางสื่อสังคมออนไลน์ใน Facebook Twitter Instagram YouTube ฟอรั่ม และบล็อกข่าวในประเทศ ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2561 ถึง ตุลาคม 2562 พบสาเหตุดังกล่าวจาแนกได้ 2 ประการ ประการที่ 1 โลกออนไลน์ของไทยประกอบด้วยข้อความที่เกี่ยวข้องกับการบูลลี่ แกล้ง ล้อ และ เหยียดราว 700,000 ข้อความหรือเฉลี่ย 39 ข้อความต่อนาที และมีการขยายความต่อผ่านการรีทวิต กดไลค์ แชร์ ทาให้เกิดการขยายข้อความดังกล่าวทั้งสิ้นราว 20 ล้านรายการ ประการที่ 2 โดยลักษณะการบูลลี่ที่ปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์ของไทยนั้น ร้อยละ 36.4 เป็น การบูลลี่ด้านรูปลักษณ์ ตามด้วยร้อยละ 31.8 เป็นการบูลลี่ทางเพศวิถี และ ร้อยละ 10.2 เป็นการ บูลลี่ทางความคิดและทัศนคติ ส่วนที่เหลือเป็นการบูลลี่ด้านอื่น ๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา บุคลิกลักษณะนิสัย รสนิยมความชอบ ฐานะทางการเงิน และครอบครัว เป็นต้น จากข้อมูลสถิติดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการดาเนินชีวิตของคนไทยอย่างมาก จึงส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งผ่าน สื่อสังคมออนไลน์และคุกคามผู้อื่นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการบูลลี่ยังไม่เปิดเผยตัวตน จึงไม่สามารถหาตัวคนบูลลี่ได้ อีกทั้งช่องทางออนไลน์ยังเอื้อให้การแกล้งกันง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นเพื่อ ความสนุก การแกล้งขา ๆ ทาเพื่อความต้องการมีตัวตน ต้องการอยู่เหนือคนอื่น หรือเกิดจากการมี ทัศนคติแตกต่างจากผู้อื่น โดยข้อมูจากเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา ของ พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้อธิบายไว้ว่า ที่ผ่านมาเราอาจรู้จักการกลั่นแกล้งทั่ว ๆ ไปที่เกิดเฉพาะสถานที่ เช่น การรังแกกันใน โรงเรียน ห้องเรียน แต่สาหรับการกลั่นแกล้งผ่านสื่อสังคมอนไลน์ มันจะมีความพิเศษที่แตกต่างไป เพราะผู้กระทาการกลั่นแกล้งคนอื่นบนสื่อสังคมออนไลน์ ไม่จาเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ผู้ถูกกระทามัก ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทาการกลั่นแกล้ง หรือสาเหตุเพราะอะไรที่ถูกกลั่นแกล้ง เมื่อไม่ต้องเปิดเผย ตัวตนจึงทาให้การกลั่นแกล้งอาจรุนแรงกว่าการกลั่นแกล้งที่เปิดเผยตัวตนตามปกติ นอกจากนี้การ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่เหยื่อเปิดอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ แม้กระทั่งในห้องนอนเวลาก่อนนอน ที่ควรจะเป็นเวลาที่ปลอดภัยและสงบสุข แต่เมื่อ เปิดข้อความบูลลี่เหล่านี้อ่านบางคนก็อาจถึงขั้นเครียดนอนไม่หลับ ดังนั้นการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์ จึงมีลักษณะที่คุกคามมากกว่าการกลั่นแกล้งดั้งเดิม นอกจากนั้นมันสามารถถูกเผยแพร่ไปได้ ไกลในเวลาอันรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต และยังไม่จากัดสถานที่ ทาให้ผลกระทบที่ตามมารุนแรง เนื่องจากทาให้เหยื่อเกิดความอับอาย โดยรูปแบบการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ที่พบบ่อย ได้แก่ การตั้งฉายา การดูถูกเหยียดหยาม การเผยแพร่ข่าวลือหรือนินทาว่าร้าย และการส่งต่อรูปภาพ ที่ไม่เหมาะสม (TNN ONLINE, 2019)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3