2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

76 หนึ่งเราอาจตกเป็นเหยื่อการบูลลี่ทางสื่อสังคมออนไลน์จากผู้ที่ไม่เคยรู้จักกันเลย หรืออาจตกเป็น เหยื่อร่วมกระทาการบูลลี่บุคคลอื่น แม้กระทั่งเป็นผู้เริ่มบูลลี่โดยไม่รู้ตัว ส่วนข้อมูล (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2562) ระบุว่าสาเหตุของการเกิด cyberbullying เกือบทั้งหมด มักเริ่มก่อตัวจากความขัดแย้ง ความเห็นต่าง หรือมีกรณีพิพาทระหว่าง 2 คน ลุกลามจนเป็นชนวนของการกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ผู้คนยังเข้าใจว่าสื่อสังคม ออนไลน์คือพื้นที่ส่วนตัว สามารถใช้ระบายความรู้สึกได้ ถ้อยคาที่ใช้โพสต์จึงออกแนวรุนแรง โพสต์ เสียดสี หรือสร้างความเสียหายให้อีกฝ่ายและแสดงอารมณ์แง่ลบออกมาได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้อง เกรงใจ หรืออาจเคยถูกกลั่นแกล้งมาก่อน คนที่ชอบกลั่นแกล้งผู้อื่นส่วนใหญ่มักเคยถูกรังแกม าก่อน ไม่ว่าจากเพื่อนหรือจากครอบครัวก็ตาม และพวกเขารู้สึกว่าต้องระบายความเกรี้ยวโกรธที่ตนเอง ได้รับออกไปให้ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาเผชิญกับประสบการณ์ร้าย ๆ ในวัยเด็ก เมื่อเขา เติบโตขึ้นเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่ติดนิสัยชอบระบายความโกรธกับผู้อื่น สรุปได้ว่าสาเหตุของกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย เกิดจากการที่ใน ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจาวันค่อนข้างมาก เห็นได้จากผลการ สารวจของ We Are Social ที่ระบุว่าคนไทยร้อยละ 85.3 มีการใช้อินเทอร์เน็ต และใช้เวลาในการใช้ อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึงวันละ 9 ชั่วโมง 6 นาที อีกทั้งยังพบอีกว่าโดยคนไทยใช้ Facebook มากเป็น อันดับ 8 ของโลก และยังนิยมใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิเช่น YouTube Instagram Twitter และ TikTok ซึ่งการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลให้คนไทยพบเจอกันในโลกออนไลน์มากว่าชีวิตจริง ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้จากทุกที่ผ่านการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ทาให้การสื่อสารเป็นไปอย่างไร้ ข้อจากัด ทั้งด้านสถานที่และด้านเวลา อาจกล่าวได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ช่วยย่อโลกให้เล็กลง เพิ่มความสะดวกสบายในติดต่อสื่อสารกันให้ง่ายขึ้นเพียงแค่กดปุ่มสัมผัสที่ปลายนิ้ว จึงอาจกลาย เป็นเครื่องมือในกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ โดยการกลั่นแกล้งนี้สามารถทาได้ 24 ชั่วโมง ต่างจากสมัยก่อนที่พื้นที่ในการกลั่นแกล้งแบบดั้งเดิมจะเกิดขึ้นเฉพาะในตอนที่มีการเผชิญหน้าแบบซึ่ง หน้าเท่านั้น โดยผู้ถูกกลั่นแกล้งสามารถหลบไปอยู่ในที่ปลอดภัยได้ แต่การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคม ออนไลน์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยากที่จะหลบหนี ไม่มีที่พื้นปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ประกอบ กับการไม่มีตัวตน หรือมีตัวตนซ่อนเร้นตัวตนในโลกออนไลน์ ทาให้คนมีอิสระในการแสดงความ คิดเห็น ส่งผลให้คนไม่ได้รู้จักกันในชีวิตจริงมีพฤติกรรมการสื่อสารที่มีแนวโน้มรุนแรงต่อกันมากขึ้น เช่น การล้อเลียนรูปหน้าหน้าตา การใช้ถ้อยคาเสียดสี รุนแรง ด่าทอ เพราะคิดว่าไม่มีใครสามารถสืบ มาถึงตัวได้ เลยไม่ต้องระวังการแสดงออกพฤติกรรมเท่ากับโลกของความเป็นจริง สาเหตุและพฤติกรรมของผู้กระทา สอดคล้องกับทฤษฎีการกระทาที่เป็นกิจวัตร (Routine Activity Theory) ของ Cohen and Felson พบว่าการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3