2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

78 ตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจของใครบางคน อาจจะทาให้อีกคนสูญเสียเสรีภาพในการดารงชีวิต การกลั่นแกล้ง บนสื่อสังคมออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรุนแรงในระยะยาว ยิ่งมีการกลั่นแกล้งบนโลก ออนไลน์บ่อยครั้ง ยิ่งทาให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือถูกรังแกมีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งความวิตกกังวลซึมเศร้า และความผิดปกติอื่น ๆ บางคนถึงขั้นฆ่าตัวตาย สาเหตุของการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ มีมากมายหลากหลายสาเหตุแล้วแต่พฤติกรรมเฉพาะตัว หลายหลายตามแต่สิ่งที่พบเจอมา แต่พฤติกรรมทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า การที่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการกลั่น แกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์เป็นกฎหมายเฉพาะ ทาให้ไม่มีบทนิยามในการให้ความหมายของการ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ทาให้ผู้กระทาไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนทาอยู่เป็นความผิด หรือเป็นการ กลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น อาจกล่าวได้ว่า เมื่อไม่มีกฎหมายมาควบคุม ผู้กระทาก็ยังคงสามารถกระทา การกลั่นแกล้งได้อย่างอิสระเสรี เพราะไม่มีกฎหมายใดหรือบทนิยามใด มาบอกว่าสิ่งที่กระทาอยู่เป็น ความผิด และสิ่งที่กระทาอยู่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นหรือไม่เพียงไร จากการที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มนักคุ้มครองสิทธิ กลุ่มบุคคลทั่วไป และนักจิตแพทย์ ถึงสาเหตุ มูลเหตุจูงใจที่ก่อให้เกิดกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ สามารถแยกคาตอบได้เป็น 5 แนวทาง คือ 1. การกลั่นแกล้งอาจเกิดจากความเกลียดชัง เมื่อเห็นว่าสบโอกาสก็จะใช้ถ้อยคาด่าทอ ทาอย่างไรก็ได้ให้คนที่ถูกเราเกลียดอับอาย ขายหน้า เจ็บปวดได้มากที่สุด เช่น เราไปเจอภาพของคน ที่เกลียดในสภาพวะที่ไม่เหมาะสม อาจนาภาพเหล่านั้นมาโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ ให้คนมารุมด่า หรือทาให้เค้าอับอาย การโพสต์เรื่องไม่จริงของคนที่เกลียดหรือไม่ชอบ ทาให้เสียชื่อเสียหรือถูกเกลียด ชังเป็นการแสดงออกที่อาศัยการโพสต์เป็นที่ระบาย 2. ผู้กระทาอาจมีปมด้อยที่เคยถูกกลั่นแกล้งมาก่อน หรือเคยถูกกลั่นแกล้งมาก่อน จะรู้สึก ว่าการกลั่นแกล้งคนอื่นกลับก็เป็นการตอบแทนในรูปแบบหนึ่ง 3. ทาตามเพื่อน เห็นเพื่อนด่าก็ด่าด้วย เห็นเพื่อนแชร์ภาพก็ทาด้วย เห็นเพื่อรุมกัน คอมเม้นก็ทาด้วย ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกับผู้ถูกกลั่นแกล้ง แต่เพื่อนทาหรือคนในกลุ่มเกลียด รักเพื่อนเลยทา ตามเพื่อนไปด้วย 4. ความไม่รู้ พวกเขาไม่รู้ว่าคาพูดเหล่านั้น หรือ พฤติกรรมกลั่นแกล้งนั้น สร้างบาดแผล และความเสียใจให้แก่คนอื่น หรือสิ่งเหล่านั้นที่ทาลงไปมันเลวร้าย และไม่ใช่สิ่งที่ดี หรือน่ายกย่องอะไร นับเป็นการหวังดีแต่แบบนี้ไม่ต้องหวังดีจะดีกว่า 5. ความไม่เข้าใจระหว่างพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ มองว่าการไม่แยกแยะความ เหลื่อมกันระหว่างความเป็นส่วนตัวกับความเป็นพื้นที่สาธารณะ เวลาเขียนอะไรไปก็จะไม่รู้ขอบเขต ชัดเจนในการสื่อสาร จึงไม่ระมัดระวังในการเขียน มองว่าสื่อสังคมออนไลน์คือพื้นที่ของเขาอย่างเต็มที่ ในการที่จะพูดอะไรให้คนอื่นได้รับรู้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3