2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

79 ส่วนในประเด็นคาตอบเกี่ยวกับ การกระทาในลักษณะใด รูปแบบใด ที่ถือว่าเป็นการ กลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ (Cyberbullying) สามารถแยกคาตอบได้เป็น 3 แนวทาง คือ 1. การกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ที่กระทาผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้นเห็นว่าเป็นการ กลั่นแกล้งของคนที่อาจจะรู้จัก หรือไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่มีจุดเชื่อมโยงกันคือ การเข้าใช้งานในสื่อ สังคมออนไลน์แพลตฟอร์มเดียวกัน ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ ไอแพด โน๊ตบุ๊ค ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส แล้วทาการโพสต์ข้อความ คอมเม้นข้อความ คอมเม้น รูปภาพ หรือส่งข้อความ ส่งรูปภาพไปยังบุคคลอื่น โดยใช้ถ้อยคาหยาบคาบ แสดงทัศนคติในแง่ลบ วิจารย์รูปร่างหน้าตา เหยียดเพศสภาพ เหยียดชาติกาเนิด แบ่งแยกชนชั้น เป็นการออกถึงความ เกลียดชัง อาจทาด้วยความคึกคะนอง ไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ตนโพสต์ไปนั้นจะไปทาให้คนอื่นเสียหาย 2. อาจเกิดจากกระทาโดยจงใจ ให้ผู้ถูกให้คนอื่นได้รับความอับอาย วิตก กังวล สร้างปม ด้อยให้คนที่ตนไม่พอใจ ด้วยการต่อว่าใช้ถ้อยคาหยาบคาย ดูถูกฐานะ เช่น อีตุ๊ด ไอกระเทยควาย ช้างน้า ดาตับเป็ด ไอลูกไม่มีพ่อ บ้านจน ไม่มีปัญญาใช้ไอโฟนหรือยังไง นี่กระเป๋าใบนี้หรูแล้วหรือ โดยการกระทาในลักษณะนี้อาจเป็นการจงใจ และต้องการผลให้ผู้ถูกกระทารู้สึกอาย หรือประจานให้ คนอื่นได้รับรู้ ตามที่ตนมีความตั้งใจหรือจงใจให้เกิดขึ้น 3. การกระทาที่เกิดขึ้นโดยผู้กระทาไม่ได้ตั้งใจ คิดเพียงว่าเป็นการพูดคุย การคอมเม้นใน เชิงหยอกล้อ แสดงความเห็นแบบตรงไปตรงมา การวิพากษ์วิจารณ์ตามความเป็นจริง แต่การกระทา เหล่านั้นกับส่งผลให้ผู้ถูกกระทารู้สึกเศร้าเสียใจ รู้สึกเป็นปมด้อย เช่น การทักทายกันว่า ช่วงนี้ดูอ้วน ขึ้นนะ ระวังกระดุมชุดจะปริแล้ว ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ระวังหัวลอยเลย เธอใส่ชุดนี้แล้วดูแก่มาก สิวเยอะมากน่ากลัว ผอมหมือนไม้เสียบผีเลยกินข้าวเยอะ ๆ นะ สิ่งที่เหล่านี้ ผู้กระทาคิดเพียงว่า พูดแล้วก็จบ ๆ ไป ไม่เห็นต้องคิดมาก แต่ผู้ถูกกระทากลับจดจาและเสียใจกับคาพูดเหล่านั้น ผลคาตอบดังกล่าว พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดจากการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ มีผู้ให้ความเห็นไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะเห็นว่าอาจเกิดจากการกระทาที่จงใจ และไม่จงใจกระทา แต่อาจทาด้วยความคึกคะนอง และไม่ได้ตะหนักว่าสิ่งที่ตนโพสต์ข้อความหรือวิจารณ์ไปนั้นจะไป กระทบต่อจิตใจหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น นอกจากนี้ ปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กาหนดนโยบายความปลอดภัย ตามมาตรการ 3 ป คือ 1) ป้องกัน ด้วยการสารวจข้อมูลรวมถึงกาหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในสถานศึกษา 2) ปลูกฝัง ด้วยการสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยขาด วิจารณญาณ 3) ปราบปราม ด้วยการจัดตั้งคณะทางานเพื่อระงับเหตุในสถานศึกษา และประสาน ความร่วมมือในการแก้ปัญหาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3