2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
80 จากแนวนโยบาย 3 ป กระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดแนวทางแก้ปัญหาในระดับ สถานศึกษา โดยจัดทาแผนขั้นตอนการดาเนินงานที่เรียกว่า “แผนเผชิญเหตุการณ์ทางไซเบอร์บูลลี่” เมื่อมีการกลั่นแกล้งด้วยการแบ็คเมล์ โดยนาความลับหรือรูปภาพของเหยื่อมาเปิดเผยหรือใส่ร้าย ป้ายสี การหลอกลวงให้หลงเชื่อออกมานัดเจอกันเพื่อทามิดีมิร้าย การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์ การกลั่นแกล้งด้วยการขู่ทาร้ายหรือใช้ถ้อยคาหยาบคาย โพสต์ด่าทอ เสียดสี ให้ร้าย คุกคาม เกิดขึ้น ให้ดาเนินการ ดังนี้ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยค้นหาสาเหตุ และแรงจูงใจ เก็บหลักฐานข้อมูลของ ผู้กระทาการบูลลี่เพื่อการดาเนินคดี ขั้นที่ 2 แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เริ่มจากหยุดการกระทากลั่นแกล้ง รังแก ปิดช่องทางการ สื่อสาร การกระจายข่าวการบูลลี่ ขั้นที่ 3 รายงาน เมื่อผู้พบเหตุประเมินความรุนแรงแล้วรายงานตามลาดับ คือ นักเรียน พบเหตุรายงานครู, ครูพบเหตุรายงานครูประจาชั้น, ครูประจาชั้นพบเหตุรายงานผู้ปกครอง, ครูประจาชั้นพบเหตุรายงานผู้บริหาร, ผู้บริหารทราบเหตุ กรณีถ้าไม่ร้ายแรง บันทึกความผิดเก็บ รวบรวมข้อมูล กรณีร้ายแรง รายงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณี ขั้นที่ 4 ให้ความช่วยเหลือ/เยียวยา แล้วแต่กรณีตามความเสียหายที่ผู้ถูกกระทาต้องการ ได้รับสาหรับผู้กระทาให้ดาเนินการอบรม ให้ ความรู้ ลงโทษตามระเบียบ ส่วนผู้ถูกกระทาเนินการโดย ให้กาลังใจ ชี้แนวทางการป้องกันการถูกบูลลี่ ขั้นที่ 5 ประสานความร่วมมือ ภายในหน่วยงานทางการศึกษา ประสานผู้ปกครองเฝ้า ระวัง พฤติกรรม ประสานครูประจาชั้นแก้ไขพฤติกรรม ประสานเพื่อนให้คาแนะนาชวนเล่น ขั้นที่ 6 ส่งต่อ หากผู้ถูกกระทาหวาดกลัว อับอาย ซึมเศร้า ส่งต่อไปยังจิตแพทย์ ในส่วนของผู้กลั่นแกล้ง ส่งต่อไปถึงฝ่ายปกครอง เช่น สถานีตารวจ จะเห็นได้ว่ากระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดแผนเผชิญเหตุการณ์ทางไซเบอร์บูลลี่ ไว้เป็น 6 ขั้นตอนเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นการถูกกลั่นแกล้งและถูกบูลลี่ทางสื่อสังคมออนไลน์ ในสถานศึกษาหรือในโรงเรียนตามที่ปรากฏตามตารางภาพ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3