2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์
81 ภาพที่ 6 แผนภูมิการดาเนินการป้องกันแก้ไขกรณีการบูลลี่ทางไซเบอร์ (ที่มา : สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2566) อย่างไรก็ตามแผนการป้องกันดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายที่ใช้เฉพาะในสถานศึกษาและ โรงเรียน แต่ไม่มีผลเป็นกฎหมายเพื่อเป็นการบังคับใช้ทั่วไปแต่อย่างใด หากเกิดการกลั่นแกล้งขึ้นกับ บุคคลทั่วไป กลับไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นรัฐควรต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อ จัดการปัญหา โดยเริ่มจากรัฐต้องให้ความสนใจและตระหนักว่าการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็นปัญหาสาคัญในระดับชาติ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยต้องสร้าง ความร่วมมือในหลาย ๆ ภาคส่วน เช่น ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ โรงเรียน และหน่วยงานภาครัฐ ในการสร้างการรับรู้และตระหนักถึงปัญหาร่วมกันในเบื้องต้นโดยการรณรงค์ให้มีการ “หยุดการกลั่น แกล้งบนโลกออนไลน์” ไม่ใช่แค่เพื่อสร้างกรอบในการป้องกันตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการปกป้องสิทธิ ในความเป็นส่วนตัวของทุกคนในสังคมที่บนพื้นฐานความเท่าเทียมและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ซึ่งกันและกัน และควรมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการชี้ชัดออกไปว่าสิ่งที่กาลังเกิดขึ้นอยู่นั้นคือ การกลั่นแกล้งกัน และละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่กฎหมายได้รองรับไว้ หากเกิดการกลั่นแกล้งขึ้นควรมี มาตราการหรือสร้างกลไกในการป้องกันและลดปัญหาการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้ 1. ในด้านการบรรเทาความเสียหายเบื้องต้น ควรสร้างระบบป้องกัน หรือ ปิดกั้นผู้ที่ กลั่นแกล้งให้ไม่สามารถติดต่อ โพสต์ หรือกลั่นแกล้งได้อีก ควรมีช่องทางในการรับรายงานกรณีถูก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3