2566-1 นางสาวปุณฑริก เกิดทิพย์-วิทยานิพนธ์

84 สิทธิวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรี หรือเป็นการกระทาแค่เพียงการล้อเล่นขา ๆ กันระหว่างเพื่อนที่รู้จักกัน เท่านั้น โดยไม่ได้คานึงว่าการกระทาของตนเองจะทาให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งรู้สึกอย่างไร ภาพที่ 8 การ Cyberbullying นักเรียน ผ่าน Instagram (ที่มา : Kaijeaw, 2563) จากตัวอย่าง ทั้งสองกรณีดังกล่าว เป็นการนาภาพไปใช้โดยเจ้าของไม่ยินยอม ย่อมมีความผิด ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มา ตรา 27 และมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 หากได้มีการ ตัดต่อ แต่งเติม หรือดัดแปลงรูปภาพ ที่ทาให้เจ้าของภาพ เสียหาย อับอาย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ดังนั้น เจ้าของรูปภาพในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ การคุ้มครอง โดยห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมิได้รับความ ยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เพราะการถ่ายภาพของคนอื่นต้องดูที่เจตนา ถ้าไปรบกวนสิทธิความเป็นอยู่ ส่วนตัวของบุคคลอื่นแล้วเจ้าของสิทธิไม่ยินยอม หรือคนอื่นถ่ายภาพติดเราแล้วเราไม่ยินยอมแต่ยังทา อยู่ ถือว่ามีผิดตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีกฎหมายทั้งสอบฉบับให้การคุ้มครองสิทธิอยู่แล้วก็ตาม แต่ ผู้ถูกกระทาต้องไปฟ้องร้องดาเนินคดีต่อศาล ซึ่งผู้ที่ถูกกระทาอาจคิดว่าเป็นการเสียเงิน เสียเวลา และต้องไปเดินทางไปศาลเสียเวลาทามาหารายได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายจ้างทนายความ เพื่อดาเนินคดีตามฎหมาย ผลก็คือมีน้อยคนมากที่ไปดาเนินคดีทางศาลกับผู้กระทาผิดจึงเกิดความ คึกคะนองว่าไม่มีใครมาทาอะไรได้ รูปแบบที่ 2 โพสต์รูปภาพของตนเองทางสื่อสังคมออนไลน์แล้วถูกบุคคลอื่นบูลลี่ จากการศึกษา พบว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางสื่อสังคมออนไลน์ในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การเข้าไปคอมเม้นรูปภาพของ บุคคลด้วยถ้อยทาในลักษณะการบูลลี่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3