2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
3 กรณีตัวอย่าง เช่น กรณีคดีแม่ที่วางยาลูกเลี้ยงพร้อมลูกของตนจนเสียชีวิตและอาการสาหัส เพียงเพราะหวังลวงขายสินค้าและเงินบริจาคจนมีเงินสะพัดเกือบ 20, 000,000 บาท ต่อมาวันที่ 22 พ.ค. 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าจับกุมตามหมายจับในข้อหารับไว้ซึ่งเด็กโดยมีความ มุ่งหมายเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ พยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ทำร้ายผู้อื่นจน เป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตาย ฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นคนอื่น และฉ้อโกงประชาชน (ข่าวมติชน สุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2563, 2563) หรือกรณีนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ หรือไลฟ์โค้ชชื่อดัง ที่เปิดรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือในการดับไฟป่าในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ วันที่ 30 มี.ค. ถึง 1 พ.ค. 2563 เป็นเงิน 875,741.53 บาท (ข่าวสยามรัฐออนไลน์, 2563) ต่อมา ไลฟ์โค้ชชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ชี้แจงประเด็นเงินบริจาคช่วยเหลือกรณีไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมแสดงหลักฐานเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อเจ้าหน้าที่ กองบัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 แต่กลับยังเป็นที่ค้างคาใจ เมื่อผู้ใช้ โซเชียลมีเดียตั้งคำถามว่า เหตุใดเงินบริจาคเพื่อช่วยไฟไหม้ป่าเชียงใหม่ กว่า 200,000 บาท จึงถูก นำไปใช้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ และเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์หรือไม่นอกจากนี้ จากการ ตรวจสอบของฝ่ายปกครองท้องถิ่น ยังพบว่าไลฟ์โค้ชชื่อดัง ไม่ได้ขออนุญาตเปิดรับบริจาคช่วยเหลือ ไฟป่ากับกรมการปกครอง ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าไลฟ์โค้ชอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการเรี่ยไรหรือไม่ โดยในเรื่องนี้ ทนายความชื่อดัง เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าว เป็นการเปิดรับ บริจาคเงินผ่านทางโซเชียลมีเดีย ไม่ได้เป็นการเดินเรี่ยไรตามหมู่บ้านหรือชุมชนที่จะต้องขออนุญาต จากฝ่ายปกครอง อย่างไรก็ตาม หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ไลฟ์โค้ชไม่ได้แจ้งยอดเงินบริจาคตาม ยอดจริง หรือนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อาจเข้าข่ายเจตนาที่จะกระทำผิดกฎหมายหลายข้อหา โดยเฉพาะการฉ้อโกง เช่น การนำเงินไปใช้เกี่ยวกับเรื่อง โควิด -19 ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องไฟป่าตามที่ เปิดรับบริจาค ซึ่งความผิดนี้ต้องมีเจ้าทุกข์คือผู้บริจาคเป็นผู้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย (ข่าวช่อง 8, 2563) หรือกรณีดราม่าเพจช่วยเหลือสัตว์ที่เป็นมะเร็งชื่อดัง ที่ทำการโพสต์ข้อมูลและ ภาพสัตว์ที่ป่วยเป็นมะเร็งที่อยู่ในความดูแลของเจ้าของเพจ จำนวนหลายร้อยตัว เพื่อเปิดรับบริจาค นำเงินไปรักษาสุนัขและแมวจรจัด โดยมีการเปิดเพจบนเฟซบุ๊ก เป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปี 2017 มีการขอรับบริจาคจนถึงปัจจุบัน ยอดเงินในบัญชีหมุนเวียน 33,000,000 บาท ซึ่งใน 2 ปีที่ผ่านมา เพจดังกล่าวเคยถูกฟ้องร้องเรื่องความไม่โปร่งใส โดยผู้บริจาคจำนวนหลายคนได้รวมตัวเข้าแจ้งความ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้รับเป็นคดี กลุ่มผู้บริจาคจึงแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด พัทยา มีการยื่นขอตรวจสอบยอดเงินบริจาค รายรับ รายจ่ายของเพจ และมีการบันทึกข้อตกลงใน กระบวนพิจารณา ซึ่งกำหนดให้เพจต้องยื่นจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิภายในปี 2565 (ข่าวช่อง 7HDร้อน ออนไลน์, 2565) เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3