2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
4 จากกรณีปัญหาเรื่องขอรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามีความ เสี่ยงต่อการเปิดโอกาสให้เกิดการหลอกลวงหรือกระทำความผิดทุจริตในรูปแบบขอรับเงินบริจาคโดย อาศัยสื่อสังคมเป็นสื่อกลาง ในการเผยแพร่ภาพสด รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อความเพื่อเรียกร้องความเห็นใจ ความน่าสงสารและขอรับความช่วยเหลือเงินบริจาค สิ่งของ จากประชาชนที่เข้าถึงสื่อดังกล่าว ซึ่งกระทำเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเอง หรือกลุ่มบุคคล หรือองค์กร เมื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการเรี่ยไร ในปัจจุบันพบว่าหลักๆ มีจำนวน 3 ฉบับ คือ 1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2566 เป็น กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐ 2. คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง ควบคุมการ เรี่ยไร พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บังคับกับวัด และ 3. พระราชบัญญัติควบคุม การเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บังคับกับเอกชน นิติบุคคลหรือบุคคล ทั่วไปที่ทำการขอรับบริจาคเงิน ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 ได้ใช้บังคับมา เป็นเวลานานแล้วและไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งแยกประเด็นปัญหาได้ 4 ประเด็นดังนี้ ประเด็นแรก คือ บทนิยามการเรี่ยไรตามมาตรา 4 “การเรี่ยไร หมายความรวมตลอดถึง การซื้อขาย แลกเปลี่ยนชดใช้ หรือบริการซึ่งมีการแสดงโดยตรงหรือโดยปริยาย ว่ามิใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้ใน กิจการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย” ที่ไม่ได้มีการอธิบายยกตัวอย่าง และไม่ได้ให้ความหมายหรือคำจำกัด ความไว้อย่างชัดเจน ประเด็นที่สอง คือ ลักษณะของการเรี่ยไรที่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการ เรี่ยไร คือ การเรี่ยไรที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ราชการเทศบาลหรือสาธารณประโยชน์ตามมาตรา 6 “การเรี่ยไรซึ่งอ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ราชการ เทศบาลหรือสาธารณประโยชน์จะจัดให้มีได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรแล้ว ...” หรือการเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่ สาธารณะ ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 8 “การเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่ สาธารณะ การเรี่ยไรโดยโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ด้วยวิทยุกระจายเสียง หรือด้วยเครื่องเปล่งเสียง จะจัดให้ มีหรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว” ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมถึงลักษณะรูปแบบ วิธีการและช่องทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผล ให้หน่วยงานภาครัฐอาจไม่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อเข้าไปควบคุมดูแลการดำเนินการเรี่ยไร เพื่อให้การนำรายได้ที่ได้รับจากการเรี่ยไรมาดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเรี่ยไรและเกิด ประโยชน์สูงสุดได้ครอบคลุมทุกกรณี (วรชัย แสนสีระ, 2563) ประเด็นที่สาม คือ การควบคุมกำกับดูแลของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ขั้นตอนการขอรับการขออนุญาตและระบบการตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตจัดให้การ เรี่ยไรหรือทำการเรี่ยไร ยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายหรือประกาศกระทรวงที่กำหนดขั้นตอนหรือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3