2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
5 หลักเกณฑ์การตรวจสอบไว้อย่างชัดเจน ส่งผลให้การขออนุญาตทำการเรี่ยไรหรือขอรับบริจาคล่าช้า หรือผู้ทำการเรี่ยไรหรือขอรับบริจาคหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายเพราะเหตุความยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่อำนวยความสะดวกต่อประชาชน ซึ่งได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้เพียงแค่การสั่งอนุญาตหรือ สั่งไม่อนุญาต กำหนดระยะเวลาที่ต้องแจ้งแสดงเหตุผลกรณีสั่งไม่อนุญาต และการกำหนดเงื่อนไขของ การทำการเรี่ยไรเท่านั้น แต่ไม่ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำกับดูแล ติดตาม เพื่อให้การขอรับ บริจาคนั้นเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ หรืออำนาจการสอดส่องตรวจสอบกิจกรรม เหล่านั้น ประเด็นสุดท้าย คือ บทกำหนดโทษ โดยเฉพาะโทษปรับที่ยังไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ ปัจจุบัน มีผลต่อความสงบเรียบร้อยในสังคมและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนเพราะ มีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจำนวนมาก (ทวียศ ศรีเกตุ, 2563) เช่น การฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้จัดให้มีการเรี่ยไรโดย ไม่รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร เรี่ยไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ หรือการ ทำผิดเงื่อนไขในการอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรกำหนด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนด หรือทำการเรี่ยไรโดยไม่มีใบอนุญาตติดตัว เมื่อเจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้ประสงค์จะเข้าส่วนใน การเรี่ยไรเรียกร้อง มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท หรือการเรี่ยไรที่ให้ใช้ถ้อยคำหรือ วิธีการใด ๆ ซึ่งเป็นการบังคับผู้ถูกเรี่ยไรโดยตรงหรือโดยปริยาย หรือซึ่งจะทำให้ผู้ถูกเรี่ยไรเกิดความ หวาดหวั่นหรือเกรงกลัว มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือ ทั้งปรับทั้งจำ นั้นเป็นโทษสถานเบา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มิจฉาชีพฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะขาด ความเกรงกลัวต่อบทลงโทษ และเห็นว่าหากเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการ ทำผิดกฎหมายนั้นมีความคุ้มค่าเมื่อแลกกับการถูกจับกุมดำเนินคดีหรือจ่ายค่าปรับ (ปรณต สุวรรณมาลา, 2563) ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 มิได้มีบทบัญญัติที่ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะการเรี่ยไรมีการพัฒนารูปแบบโดยวิธีที่ทันสมัยและใช้ เครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้การเรี่ยไรบางกรณีไม่มีลักษณะเข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการเรี่ยไร จึงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ ทำให้การเรี่ยไรขอรับบริจาคเงินโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้นไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบ ข้อมูลหรือควบคุมให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกำกับดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคเงิน หรือไม่ ฉะนั้นเมื่อเกิดการรับบริจาคเงินโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ขึ้น จะต้องพิจารณาว่าเป็นการขอรับ บริจาคประเภทใด เพราะหากเป็นกรณีบุคคลขอรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ของตนเอง จะกลายเป็นการขอทานออนไลน์ ซึ่งต้องไปปรับใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ตามมาตรา 13 ที่กำหนดว่า ห้ามบุคคลใดทำการขอทาน และการกระทำการขอเงินหรือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3