2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ
6 ทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความ หรือการแสดงกิริยาอาการใด หรือการกระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้ ให้ถือว่าเป็นการ ขอทาน ส่วนการหลอกลวงรับบริจาคเงินกรณีอย่างอื่นที่ไม่เข้าลักษณะการขอทาน ต้องไปหยิบยก ประมวลกฎหมายอาญามาลงโทษผู้กระทำความผิด เพราะถ้าหากมีการหลอกลวงหรือมีเจตนาในการ ฉ้อโกง หรือฉ้อโกงประชาชน ก็จะมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือมาตรา 343 แล้วแต่กรณี รวมไปถึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท สุดท้ายอาจจะถูก ตรวจสอบทรัพย์สิน เนื่องจากความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนนั้น เป็นความผิดมูลฐานตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (นิติธร แก้วโต (ทนายเจมส์LK), 2562) ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ในการศึกษาการเรี่ยไรหรือรับบริจาคในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมีความ ประสงค์จะศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรหรือรับบริจาคเงินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการเรี่ยไรในรูปแบบออนไลน์ของประเทศไทย ว่ามีอยู่เพียงพอหรือไม่ มีการกำหนดเงื่อนไขและมาตรการทางกฎหมายอย่างอื่นหรือไม่ ตลอดจน วิเคราะห์เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยลดการทุจริตและควบคุม การเรี่ยไรจัดให้มีระบบตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตทำการเรี่ยไรรับหรือบริจาคเงินผ่านช่องทางสื่อสังคม ออนไลน์ ให้มีความโปร่งใสและประชาชนสามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการขอรับบริจาค 2. เพื่อศึกษาถึงความหมาย ลักษณะ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการขอรับบริจาคผ่านสื่อ สังคมออนไลน์ (Social Media) 3. เพื่อศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการขอรับบริจาคผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ 4. เพื่อนำเสนอแนวทางและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการขอรับบริจาคเงินผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) 1.3 คำถามวิจัย 1. การควบคุมการขอรับเงินบริจาคในปัจจุบันโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อกลางนั้น มีกฎหมายและมาตรการที่ใช้ในการควบคุมและตรวจสอบที่เหมาะสมกับสภาพสังคมแล้วหรือไม่ 2. หากเกิดปัญหาการหลอกลวงหรือทุจริต กฎหมายและมาตรการที่ใช้อยู่นั้นสามารถบังคับ ใช้แก่ผู้กระทำความผิดได้มากน้อยเพียงใดและบทลงโทษมีความเหมาะสมเพียงพอแล้วหรือไม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3