2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

11 (6) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการบริจาคเป็นกระบวนการการจัดการ โดยกระบวนการบริจาคของ องค์กรไม่แสวงหากำไรนั้น ได้มีการนำไปใช้ตามความเหมาะสมและศักยภาพของแต่ละองค์กร องค์กร ที่สามารถมีกระบวนการระดมทุนได้อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน มักจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเงินทุน ในการดำเนินการและมีบุคลากรที่พอเพียง การจัดการกระบวนการให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ วัตถุประสงค์และสภาพขององค์กร (วนิษา แก้วสุข, 2557) 2.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ การให้มีหมายความอย่างเดียวกันกับการบริจาค เหตุผลของการให้ที่สำคัญเกิดขึ้นมาจาก ค่านิยมของบุคคลในสังคม ตราบใดที่เห็นว่าการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสามารถทำให้เกิดผลประโยชน์ ร่วมกันในสังคม บุคคลในสังคมมีลักษณะเป็นแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependence of Utility) โดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ทั้งในแง่ของการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน และการให้ที่หวังผลตอบแทน การกระทำเหล่านี้แม้ว่าจะเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของการ อยู่ร่วมกันเป็นของมนุษย์ ทั้งในระดับของครอบครัว ระดับชุมชน แต่การปลูกจิตสำนึกให้คนในสังคมมี ความเห็นอกเห็นใจ และเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกันมากขึ้น ย่อมเป็นหนทางหนึ่งของการเสริมสร้างความสุข มวลรวมของสังคมแห่งการให้มากยิ่งขึ้น (พัชร์สิตา รัฐโชติพิริยกร, 2558) แนวคิดของการให้นั้น มีความสอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนา เพราะคำสอนของ ศาสนาทุกศาสนา เป็นคำสั่งสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี ปฏิบัติตนครองตนโดยชอบ ไม่เบียดเบียนซึ่งกัน และกัน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันบนโลกนี้ได้อย่างปกติสุข โดยจากการศึกษาศาสนา 3 ศาสนาที่ ประชากรไทยส่วนใหญ่นับถือ คือ พุทธ อิสลาม และคริสต์ มีแนวคิดการให้ ดังนี้ 1) พุทธศาสนา เป้าประสงค์ของพุทธศาสนาต้องการให้มนุษย์เข้าถึงความสุขจากระดับความสุขเบื้องต่ำไปสู่ ความสุขเบื้องสูง อย่างในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสอนแก่ยสกุลบุตร ซึ่งประกอบด้วย ความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติเป็นลำดับ (พระณัฐภัทร กิจฺจกาโร และพระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, 2562) มี 5 ประการ คือ (1) ทานกถา คือ สุขที่เกิดจากการให้ทาน หรือ การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน (2) สีลกถา คือ สุขที่เกิดขึ้นเพราะรักษาศีล 5 ตามเพศสภาวะ (3) สัคคกถา คือ สุขที่เป็นอานิสงส์จากการให้ทานและรักษาศีล จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ สวรรค์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3