2566-1 นางสาวพัชราภรณ์ เรืองเพ็ง-การค้นคว้าอิสระ

12 (4) กามาทีนวกถา คือ สุขที่เกิดจากการละเว้นความชั่ว ความต่ำทรามแห่งกาม อันได้แก่ การถือศีล 8 หรือศีลที่สูงขึ้นไปที่เป็นจริยาแห่งการบวชกายและใจ การเว้นจากคิหิปฏิบัติอันเป็นของ ต่ำและเป็นมรรคแห่งผลที่จะเกิดขึ้นในข้อที่ 5 (5) เนกขัมมานิสังสกถา คือ สุขที่เป็นอานิสงส์แห่งการออกจากกามผลแห่งการบวชกาย และใจได้สำแดงผล อันเป็นสุขประณีตที่ไม่ผูกพันกับสิ่งล่อตาล่อใจทางกิเลสในกาม แต่เป็นสุขที่ไม่มี โทษและเป็นอิสรภาพอย่างแท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสถึงอานิสงส์ของการให้ทานไว้ใน สีหสูตร (จันทร แสงสุวรรณวาว, 2561) คือ 1) ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คือ เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก 2) คนดีเป็นอันมากย่อมพอใจ คบหาผู้ให้ทาน 3) ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ย่อมเป็นที่กล่าวขานของคนไปทั่ว 4) ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้า อาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม และ 5) เมื่อละจากโลกนี้ (เสียชีวิต) ผู้ให้ย่อมไปเกิดในสุคติแห่งโลก สวรรค์ นอกจากยังมีการแนะนำให้เข้าใจเรื่องบุญ 3 กาล ที่เจตนาต่างกัน ดังนี้ กาลที่ 1 คือ ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี) ของผู้นั้นพบแต่ความสุขพร้อมไปด้วยสิ่งดีงาม กาลที่ 2 คือ ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ทำให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (ช่วงอายุ 26-50 ปี) ของผู้นั้น พบกับความสุขความสบาย บริบูรณ์ด้วย โภคทรัพย์สมบัติ กาลที่ 3 คือ ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความสบายใจไม่เสียดายทรัพย์ อานิสงส์แห่ง บุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัย (อายุ 51 ปี ขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วยความสุขสมหวัง ในสิ่งที่ปรารถนา สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และเมื่อผู้ใดสามารถรักษา เจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต รูปแบบในการให้ของสังคมไทย (พระครูพิลาศสรกิจ, พระครูวิจิตรศีลาจาร, สิทธิโชค ปาณะศรี และสวัสดิ์ อโนทัย, 2562) พบว่า มีรูปแบบ 3 ประการ ดังนี้ (1) อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของ อาหารและเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้เลี้ยงชีวิตให้ ดำรงอยู่ได้ (2) ธรรมทาน คือ การให้คุณธรรมอันเป็นความรู้ที่ทำให้เกิดปัญญา นำไปใช้ในชีวิตและ สังคมด้วยคุณงามความดีของผู้ทรงธรรม (3) อภัยทาน หมายถึง การไม่ถือโทษโกรธกัน การยกเว้นการประทุษร้ายเบียดเบียนซึ่ง กันและกัน มีชีวิตอยู่ร่วมกันโดยไม่มีภัยต่อกัน มีจิตคิดเมตตาทั้งในคนและในสัตว์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3